ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

หน้าที่ ๑๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค]

                                                                 ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน

[๖๐] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ มุ่งหวังกองธรรมอันวิเศษ ออกจากอาศรมแล้วพูดดังนี้ว่า [๖๑] พระพุทธเจ้าผู้ทรงลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑- เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก มาเถิด ท่านทั้งหลาย เราทุกคนจักไปยังสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า [๖๒] ศิษย์เหล่านั้นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนบรรลุบารมีในพระสัทธรรม แสวงหาประโยชน์อย่างยอดเยี่ยม ต่างรับว่า สาธุ [๖๓] ครั้งนั้น พวกเขาสวมชฎาและทรงบริขาร นุ่งห่มผ้าหนังสัตว์ แสวงหาประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมได้ออกไปจากป่า @เชิงอรรถ : @ ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ คือ (๑) มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน (๒) พื้นใต้พระบาททั้ง ๒ มีจักร @ปรากฏข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกงและดุม มีส่วนประกอบครบบริบูรณ์ทุกอย่าง (๓) ทรงมีส้นพระบาทยาว @(๔) มีองคุลียาว (๕) ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม (๖) ทรงมีลายดุจตาข่ายที่ฝ่าพระหัตถ์ @และฝ่าพระบาท (๗) ทรงมีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ (๘) ทรงมีพระชงฆ์เรียว ดุจแข้งเนื้อทราย (๙) เมื่อ @ประทับยืน ไม่ต้องทรงก้มก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุได้ด้วยพระหัตถ์ทั้ง ๒ (๑๐) ทรงมีพระคุยหฐานเร้น @อยู่ในฝัก (๑๑) ทรงมีพระฉวีวรรณงดงามดุจหุ้มด้วยทองคำ (๑๒) ทรงมีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลี @ไม่เกาะติดพระวรกาย (๑๓) ทรงมีพระโลมชาติงอกเส้นเดียวในแต่ละขุม (๑๔) ทรงมีพระโลมชาติสีเข้ม @เหมือนดอกอัญชันขดเป็นลอนเวียนขวามีปลายตั้งขึ้น (๑๕) ทรงมีพระวรกายตรงดุจกายพรหม (๑๖) ทรง @มีพระมังสะพูนเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ หลังพระบาททั้ง ๒ พระอังสะทั้ง ๒ และ @ลำพระศอ) (๑๗) ทรงมีส่วนพระวรกายบริบูรณ์ดุจกึ่งกายท่อนหน้าของพญาราชสีห์ (๑๘) ทรงมีพระ @ปฤษฎางค์เต็มเรียบเสมอกัน (๑๙) ทรงมีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลต้นไทร พระวรกายสูง @เท่ากับวาของพระองค์ (๒๐) ทรงมีพระศอกลมงามเต็มเสมอ (๒๑) ทรงมีเส้นประสาทสำหรับรับรส @พระกระยาหารได้อย่างดี (๒๒) ทรงมีพระหนุดุจคางราชสีห์ (๒๓) ทรงมีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (๒๔) ทรง @มีพระทนต์เรียบเสมอกัน (๒๕) ทรงมีพระทนต์ไม่ห่างกัน (๒๖) ทรงมีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม (๒๗) ทรง @มีพระชิวหาใหญ่ (๒๘) ทรงมีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหมตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก (๒๙) ทรงมีพระเนตร @ดำสนิท (๓๐) ทรงมีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด (๓๑) ทรงมีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนง @สีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่น (๓๒) ทรงมีพระเศียรงดงามดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ @(ที.ปา. (แปล) ๑๑/๒๐๐/๑๕๙-๑๖๓, ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๘๖/๔๗๔-๔๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๑๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=33&page=10&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=33&A=271 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=33&A=271#p10 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]