ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

หน้าที่ ๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค]

                                                                 ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน

[๕๕] ฤๅษีเหล่านั้นล้วนเชี่ยวชาญอภิญญา เหาะไปในท้องฟ้าได้ เมื่อเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม [๕๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีศิษย์เหล่านั้นแวดล้อมอยู่ในป่าใหญ่ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความยินดีในฌาน จนไม่รู้จักกลางคืนและกลางวัน [๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้ทรงเป็นมหามุนี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้น กำจัดความมืดมนคือโมหะให้พินาศไป [๕๘] ครั้งนั้น ศิษย์บางรูปประสงค์จะเล่าเรียนคัมภีร์ลักษณะ อันมีองค์ ๖ ๑- ในคัมภีร์พระเวท๒- ได้มายังสำนักของข้าพเจ้า [๕๙] พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้ทรงเป็นมหามุนี เสด็จอุบัติขึ้นในโลก เมื่อจะทรงประกาศสัจจะ ๔ ๓- จึงได้ทรงแสดงอมตบท๔- @เชิงอรรถ : @ ลักษณะมีองค์ ๖ ในที่นี้หมายถึงมนตร์พรหมจินดามีองค์ ๖ คือ (๑) กัปปศาสตร์ (ว่าด้วยวิธีเกี่ยวกับ @การบูชายัญ) (๒) พยากรณ์ศาสตร์ (แสดงการแยกปกติ) (๓) นิรุตติศาสตร์ (แสดงศัพท์ เติมปัจจัย) @(๔) สิกขาศาสตร์ (แสดงฐานกรณ์และปตยนะของอักษร) (๕) ฉันโทวิจิติศาสตร์ (แสดงลักษณะของฉันท์) @(๖) โชติสัตถศาสตร์ (แสดงลักษณะของดวงดาวที่บ่งถึงความเจริญและความเสื่อมของมนุษย์) @(ขุ.วิ.อ. ๙๙๖/๓๐๙) @ดูเทียบเวทางคศาสตร์ของพราหมณ์ มี ๖ อย่างคือ (๑) ศึกษา คือ วิธีออกเสียงคำในพระเวทให้ถูกต้อง @(๒) ไวยากรณ์ (๓) ฉันท์ (๔) เชยติส คือดาราศาสตร์ (๕) นิรุกติ คือกำเนิดของคำ และ (๖) กัลปะคือ @วิธีจัดทำพิธี (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๗๗๓) @ คัมภีร์พระเวท หมายถึงคัมภีร์ของพราหมณ์ คัมภีร์ที่เขียนด้วยภาษาสันสกฤตของชาวฮินดู @(ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๓) @ สัจจะ ๔ ได้แก่ (๑) ทุกข์ (๒) สมุทัย (๓) นิโรธ (๔) มรรค (ขุ.อป.อ. ๒/๗/๑๐๗) @ ดูเชิงอรรถหน้า ๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=33&page=9&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=33&A=240 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=33&A=240#p9 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33



จบการแสดงผล หน้าที่ ๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]