ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

หน้าที่ ๒๐๐-๒๐๑.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

                                                                 รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

คันธายตนะ
[๖๒๔] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ ได้ มีอยู่ สัตว์นี้เคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยฆานปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุ บ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ๑- [๖๒๕] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ ได้ มีอยู่ ฆานปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่กลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ [๖๒๖] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่น รากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่น เน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ มีอยู่ กลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่ฆานปสาทซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะ บ้าง คันธธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ [๖๒๗] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่น รากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่น @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๔/๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๐}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

                                                                 รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

เน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภกลิ่นใด ฆานสัมผัสอาศัยฆานปสาท เคยเกิด กำลัง เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภกลิ่นใด เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณอาศัยฆานปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ ฆานสัมผัส มีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณมีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ
รสายตนะ
[๖๒๘] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รส ลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ มีอยู่ สัตว์นี้เคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสใดที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ด้วยชิวหาปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรสายตนะ๑- [๖๒๙] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่ ชิวหาปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่รสใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารสบ้าง รสายตนะ บ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรสายตนะ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๕/๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๐๐-๒๐๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=34&page=200&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=34&A=5762 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=34&A=5762#p200 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 34 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_34 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34 https://84000.org/tipitaka/english/?index_34



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๐-๒๐๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]