ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

หน้าที่ ๒๐๖-๒๐๗.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

                                                                 รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ

อนุปาทารูป
[๖๔๖] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุ
โผฏฐัพพายตนะ
[๖๔๗] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มีสัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา สัตว์นี้เคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง หรือพึง ถูกต้องโผฏฐัพพะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ด้วยกายปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็น โผฏฐัพพายตนะ๑- [๖๔๘] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มี สัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา กายที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพะ บ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพายตนะ [๖๔๙] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มี สัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา โผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่กายปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ ชื่อว่าโผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็น โผฏฐัพพายตนะ [๖๕๐] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มี สัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด กายสัมผัสอาศัยกายปสาทรูป @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๖/๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๖}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

                                                                 รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ

เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด เวทนาที่ เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ กายสัมผัสมีโผฏฐัพพะใดเป็นอารมณ์ อาศัยกายปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่กาย สัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณมีโผฏฐัพพะใดเป็นอารมณ์ อาศัยกายปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพายตนะ
อาโปธาตุ
[๖๕๑] รูปที่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอาโปธาตุ รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทายรูป
อุปาทินนรูป
[๖๕๒] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ นั้นเป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ กวฬิงการาหาร อันกรรมแต่งขึ้น รูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ยึดถือ
อนุปาทินนรูป
[๖๕๓] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ นั้นเป็นไฉน สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ กวฬิงการาหาร อันกรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหา และทิฏฐิไม่ยึดถือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๐๖-๒๐๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=34&page=206&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=34&A=5928 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=34&A=5928#p206 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 34 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_34 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34 https://84000.org/tipitaka/english/?index_34



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๖-๒๐๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]