ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๒๗๒-๒๗๓.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐. กุสลนิทเทส

๑๐. กุสลนิทเทส
กามาวจรกุศลจิต ๘
มหากุศลจิตดวงที่ ๑
[๒๙๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะ อธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๙๓] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นกุศลเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ในกุศลมูลนั้น อโลภะ เป็นไฉน ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ นี้เรียกว่า อโลภะ๑- อโทสะ เป็นไฉน ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดพยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่า อโทสะ๒- @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๒/๒๖ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๓/๒๖, สํ.ม. ๑๙/๘๑๓/๒๒๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๗๒}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐. กุสลนิทเทส

อโมหะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า อโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล ในปัจจยาการนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี ฯลฯ เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เป็นไฉน ศรัทธา ความเชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง นี้เรียกว่า เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๗๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๒๗๒-๒๗๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=272&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=7726 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=7726#p272 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๗๒-๒๗๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]