ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๕๒๘.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

                                                                 ๑๐. ทสกนิทเทส

[๘๒๐] สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย เหล่านั้นเป็นไฉน กิเลสวัตถุ ๑๐ เหล่านี้สัตว์เหล่าใดไม่ส้องเสพ ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ไม่ เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่ามีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย [๘๒๑] สัตว์ทั้งหลายที่มีอินทรีย์อ่อน เหล่านั้นเป็นไฉน อินทรีย์ ๕ ๑- คือ ๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา) ๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ) ๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ) ๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ) ๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา) อินทรีย์ ๕ เหล่านี้อันสัตว์เหล่าใดไม่ส้องเสพ ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ไม่ ทำให้เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน [๘๒๒] สัตว์ทั้งหลายที่มีอินทรีย์แก่กล้า เหล่านั้นเป็นไฉน อินทรีย์ ๕ เหล่านี้อันสัตว์เหล่าใดส้องเสพ เจริญ ทำให้มาก เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีอินทรีย์แก่กล้า [๘๒๓] สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการชั่ว เหล่านั้นเป็นไฉน สัตว์เหล่านั้นใดมีอาสวะชั่ว มีอนุสัยชั่ว มีจริตชั่ว มีอัธยาศัยชั่ว มีธุลีคือ กิเลสในปัญญาจักษุมาก มีอินทรีย์อ่อน สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว [๘๒๔] สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการดี เหล่านั้นเป็นไฉน สัตว์เหล่านั้นใดที่มีอาสยะดี มีจริตดี มีอัธยาศัยดี มีธุลีคือกิเลสในปัญญา จักษุน้อย มีอินทรีย์แก่กล้า สัตว์เหล่านั้นนี้ชื่อว่าผู้มีอาการดี [๘๒๕] สัตว์ทั้งหลายผู้ที่แนะนำให้เข้าใจได้ยาก เหล่านั้นเป็นไฉน ก็สัตว์เหล่าใดมีอาการชั่ว สัตว์เหล่านั้นแลชื่อว่าผู้แนะนำให้เข้าใจได้ยาก ส่วนสัตว์เหล่าใดมีอาการดี สัตว์เหล่านั้นแลชื่อว่าผู้แนะนำให้เข้าใจได้ง่าย [๘๒๖] สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ควรบรรลุธรรม เหล่านั้นเป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน เช่นศรัทธาเป็นใหญ่ในการครอบงำความไม่มีศรัทธาเป็นต้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๒๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๒๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=528&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=14933 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=14933#p528 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๒๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]