ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๕๕๓.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๑. เอกกนิทเทส

ความเมาเพราะอาหาร ความอึดอัดลำบากเพราะอาหาร ความเร่าร้อน กระวนกระวายเพราะอาหาร ความหนักเนื้อหนักตัวเพราะอาหาร ของผู้รับประทาน อาหารแล้ว นี้เรียกว่า ภัตตสัมมทะ (๔๒) [๘๖๐] เจตโสลีนัตตะ เป็นไฉน ความไม่คล่องแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความ ทดถอย ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย ภาวะที่จิตท้อถอย นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ (๔๓) [๘๖๑] กุหนา เป็นไฉน ความหลอกลวงด้วยการเสพปัจจัย ความหลอกลวงด้วยการกระซิบในที่ใกล้ หรือการวางท่าทางอิริยาบถ๑- กิริยาที่วางท่าทางอิริยาบถ ความดำรงอิริยาบถด้วยดี การปั้นสีหน้า ภาวะที่ปั้นสีหน้า ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่ หลอกลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้ปรารถนาลามก ถูกความ อยากครอบงำ นี้เรียกว่า กุหนา (๔๔) [๘๖๒] ลปนา เป็นไฉน การทักทายผู้อื่น การพูดแนะนำตนเอง การพูดปลอบโยน การพูดยกย่อง การพูดยกย่องให้สูงขึ้นทุกส่วน การพูดเอาใจคนอื่น การพูดเอาใจคนอื่นบ่อยๆ การพูดแนะนำ การพูดแนะนำบ่อยๆ การพูดยกย่องเพื่อต้องการจะให้เขารัก การ พูดทำตนให้ต่ำลง การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก ของภิกษุผู้ มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า ลปนา (๔๕) [๘๖๓] เนมิตติกตา เป็นไฉน การทำนิมิต๒- ความฉลาดในการทำนิมิต การพูดเกี่ยวข้องด้วยปัจจัย การ พูดเป็นเลศนัย การพูดเลียบเคียงชนเหล่าอื่น ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า เนมิตติกตา (๔๖) @เชิงอรรถ : @ คำว่า “อิริยาบถ” หมายถึงอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน (อภิ.วิ.อ. ๘๖๑/๕๒๑) @ คำว่า “ทำนิมิต” ในที่นี้หมายถึงความฉลาดในการกระทำทางกายและวาจาเพื่อให้คนอื่นให้ทาน @(อภิ.วิ.อ. ๘๖๓/๕๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๕๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=553&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=15619 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=15619#p553 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๕๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]