ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๕๕๔-๕๕๘.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๑. เอกกนิทเทส

[๘๖๔] นิปเปสิกตา เป็นไฉน การด่า การพูดข่ม การพูดนินทา การพูดตำหนิโทษ การพูดตำหนิโทษหนัก ขึ้น การพูดเหยียดหยาม การพูดเหยียดหยามให้หนักยิ่งขึ้น การพูดให้เสียชื่อเสียง การพูดให้เสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรง การนำเรื่องเที่ยวไปประจาน การพูดสรรเสริญ ต่อหน้านินทาลับหลัง๑- ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้ปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า นิปเปสิกตา (๔๗) [๘๖๕] ลาเภนลาภังนิชิคีสนตา เป็นไฉน ภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยาก ครอบงำ นำอามิสที่ได้จากข้างนี้ไปให้ข้างโน้น หรือที่ได้จากข้างโน้นไปให้ข้างนี้ การแสวงหา การเสาะแสวงหา การเสาะแสวงหาบ่อยๆ กิริยาที่แสวงหา กิริยา ที่เสาะแสวงหา กิริยาที่เสาะแสวงหาบ่อยๆ ซึ่งอามิสด้วยอามิส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ลาเภนลาภังนิชิคีสนตา (๔๘) [๘๖๖] ความถือตัวว่าเป็นผู้เลิศกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความ เป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดย ปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน การเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้เลิศกว่าเขา (๔๙) [๘๖๗] ความถือตัวว่าเป็นผู้เสมอเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดย โคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดย ความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือ @เชิงอรรถ : @ คำบาลีว่า “ปรปิฏฺฐิมํสิกตา” อรรถกถาขยายความว่า “ปุรโต มธุรํ ภณิตฺวา ปรมฺมุเข อวณฺณภาสิตา” @ต่อหน้าพูดจาอ่อนหวาน ลับหลังพูดนินทา ติเตียน (อภิ.วิ.อ. ๘๖๔/๕๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๔}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๑. เอกกนิทเทส

โดยปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความ ทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้เสมอเขา (๕๐) [๘๖๘] ความถือตัวว่าเป็นผู้ด้อยกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่น กิริยาที่ดูหมิ่น ภาวะที่ดูหมิ่น ความเกลียดตน ความเกลียดตนยิ่ง ภาวะที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่า ต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้ด้อย กว่าเขา (๕๑) [๘๖๙] เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดย ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือตัวว่าเลิศกว่าคน อื่นๆ เช่นนี้แล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕๒) [๘๗๐] เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดย ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยความถือตัวว่าเสมอกับ คนอื่นๆ เช่นนี้แล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๕}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๑. เอกกนิทเทส

[๘๗๑] เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดย ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดย ศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยความถือตัวว่า ด้อยกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะ ที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง ภาวะที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๕๔) [๘๗๒] เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุอย่าง ใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ เขาอาศัยความถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕๕) [๘๗๓] เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่นๆ โดยเหตุอย่าง ใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ เขา อาศัยความถือตัวว่าเสมอกับคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความ เห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๕๖) [๘๗๔] เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๖}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๑. เอกกนิทเทส

เขาอาศัยความถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง ภาวะ ที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๕๗) [๘๗๕] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ เขาอาศัยความถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือ ตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕๘) [๘๗๖] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ เขาอาศัยความถือตัวว่าเสมอกับคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๕๙) [๘๗๗] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ เขาอาศัยความถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่น ตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน ภาวะ ที่เกลียดตน ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะ เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๖๐) [๘๗๘] มานะ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๗}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๑. เอกกนิทเทส

ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง นี้เรียกว่า มานะ (๖๑) [๘๗๙] อติมานะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดย ชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความ เห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อติมานะ (๖๒) [๘๘๐] มานาติมานะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เบื้องต้นถือตัวว่าเสมอกับคนอื่นๆ ต่อมาถือตัวว่าเลิศ กว่าคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็น บุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มานาติมานะ (๖๓) [๘๘๑] โอมานะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความ เกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน ภาวะที่เกลียดตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความ ดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โอมานะ (๖๔) [๘๘๒] อธิมานะ เป็นไฉน ความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว ความสำคัญกิจที่ตนยังไม่ ได้ทำว่าทำแล้ว ความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว ความสำคัญ ธรรมที่ตน ยังไม่ได้ทำให้แจ้งว่าทำให้แจ้งแล้ว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อธิมานะ (๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๕๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๕๔-๕๕๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=554&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=15651 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=15651#p554 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๕๔-๕๕๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]