ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๕๘๗.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๔. จตุกกนิทเทส

บรรดาอาสวะ ๔ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กามาสวะ ภวาสวะ เป็นไฉน ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ นี้เรียกว่า ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน ความเห็นว่า โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ จะ ว่าไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ เป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ เหล่านี้ชื่อว่าอาสวะ ๔ (๑) [๙๓๘] คันถะ ๔ เป็นไฉน คันถะ ๔ คือ ๑. อภิชฌากายคันถะ ๒. พยาบาทกายคันถะ ๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ บรรดาคันถะ ๔ นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ นี้เรียกว่า อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เรา ฯลฯ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า พยาปาทกายคันถะ สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๘๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=587&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=16613 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=16613#p587 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๘๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]