ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๕๙๕.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๕. ปัญจกนิทเทส

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน นิวรณ์ ๕ คือ ๑. กามฉันทนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือกามฉันทะ) ๒. พยาปาทนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือพยาบาท) ๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือถีนมิทธะ) ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคืออุจธัจจกุกกุจจะ) ๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือวิจิกิจฉา) เหล่านี้ชื่อว่านิวรณ์ ๕ (๘) อนันตริยกรรม ๕ เป็นไฉน อนันตริยกรรม ๕ คือ ๑. มาตุฆาต (ฆ่ามารดา) ๒. ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา) ๓. อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์) ๔. โลหิตุปบาท (มีจิตประทุษร้ายทำร้ายพระพุทธเจ้าจน ถึงยังพระโลหิตให้ห้อด้วยจิตคิดร้าย) ๕. สังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน) เหล่านี้ชื่อว่าอนันตริยกรรม ๕ (๙) ทิฏฐิ ๕ เป็นไฉน ทิฏฐิ ๕ คือ ๑. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามี สัญญา หลังจากตายแล้วเป็นสภาวะที่เที่ยง ๒. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตาไม่ มีสัญญา หลังจากตายแล้วเป็นสภาวะที่เที่ยง ๓. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามี สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ หลังจากตายแล้วเป็น สภาวะที่เที่ยง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๙๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=595&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=16852 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=16852#p595 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๙๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]