ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๖๑๒-๖๑๓.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๘. อัฏฐกนิทเทส

เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๗ ๘. ภิกษุหายไข้แล้วแต่หายยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายไข้แล้ว แต่หายยังไม่นาน กายของเรานั้นยังอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่า กุสีตวัตถุข้อที่ ๘ เหล่านี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุ ๘ [๙๕๔] จิตกระทบในโลกธรรม ๘ เป็นไฉน จิตกระทบในโลกธรรม ๘ คือ ๑. ความยินดีในลาภ ๒. ความยินร้ายในความเสื่อมลาภ ๓. ความยินดีในยศ ๔. ความยินร้ายในความเสื่อมยศ ๕. ความยินดีในการสรรเสริญ ๖. ความยินร้ายในการนินทา ๗. ความยินดีในสุข ๘. ความยินร้ายในทุกข์ เหล่านี้ชื่อว่าจิตกระทบในโลกธรรม ๘ เหล่านี้ [๙๕๕] อนริยโวหาร ๘ เป็นไฉน อนริยโวหาร ๘ คือ ๑. เมื่อไม่เห็น พูดว่าเห็น ๒. เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าได้ยิน ๓. เมื่อไม่รู้ พูดว่ารู้ ๔. เมื่อไม่เข้าใจ พูดว่าเข้าใจ ๕. เมื่อเห็น พูดว่าไม่เห็น ๖. เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน ๗. เมื่อรู้ พูดว่าไม่รู้ ๘. เมื่อเข้าใจ พูดว่าไม่เข้าใจ เหล่านี้ชื่อว่าอนริยโวหาร ๘ [๙๕๖] มิจฉัตตะ ๘ เป็นไฉน มิจฉัตตะ ๘ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๒}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

                                                                 ๘. อัฏฐกนิทเทส

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (การงานผิด) ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) เหล่านี้ชื่อว่ามิจฉัตตะ ๘ [๙๕๗] บุรุษโทษ ๘ เป็นไฉน บุรุษโทษ ๘ คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นแก้ตัว โดยการอ้างว่าไม่มีสติอย่างนี้ว่า เราระลึกไม่ได้ เราระลึกไม่ได้ นี้ชื่อว่า บุรุษโทษข้อที่ ๑ ๒. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นโต้ตอบผู้โจทว่า การพูดกับท่านผู้โง่เขลา ไม่ฉลาดจะมีประโยชน์อะไร แม้ท่านก็ยังเข้าใจ ผมว่าควรว่ากล่าว นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๒ ๓. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นกลับปรับอาบัติแก่ภิกษุ ผู้โจทนั่นว่า ถึงท่านก็ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงแสดงอาบัตินั้นเสียก่อน นี้ ชื่อว่าบุรษโทษข้อที่ ๓ ๔. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นยกเหตุอื่นๆ มาพูด กลบเกลื่อน พูดชักให้เขวไปนอกเรื่อง เคือง แสดงความโกรธ เคืองและ อาการไม่พอใจ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๔ ๕. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นโบกมือปฏิเสธในท่าม กลางสงฆ์ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๕ ๖. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นนิ่งเฉยเสียด้วยคิดว่า เราไม่ต้องอาบัติเลย แต่ความจริงเราต้องอาบัติ แกล้งสงฆ์ให้ลำบาก นี้ ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๖ ๗. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ไม่ เอื้อเฟื้อโจท หลีกไปตามชอบใจ ทั้งที่ยังมีอาบัติติดตัวอยู่ นี้ชื่อว่าบุรุษ โทษข้อที่ ๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๖๑๒-๖๑๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=612&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=17358 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=17358#p612 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๑๒-๖๑๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]