ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๕.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม แม้บริษัทของเขาก็ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้น ไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้ เนื้ออ่อนแวดล้อม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม แม้บริษัทของเขาเป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก [๑๗๑] บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณเลื่อมใสในรูป๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปที่สูง รูปที่ผอม รูปที่อ้วน รูปที่มีอวัยวะสมส่วน ถือเอาประมาณในรูปนั้นแล้ว เกิดความเลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือรูปเป็น ประมาณเลื่อมใสในรูป บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณเลื่อมใสในเสียง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถือเอาประมาณในเสียงนั้นที่ผู้อื่นกล่าวสรรเสริญ ที่ผู้ อื่นชมเชย ที่ผู้อื่นกล่าวยกย่อง ที่ผู้อื่นกล่าวสรรเสริญสืบๆ กันมาแล้ว เกิดความ เลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือเสียงเป็นประมาณเลื่อมใสในเสียง [๑๗๒] บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณเลื่อมใสในความเศร้าหมอง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นจีวรเศร้าหมอง บาตรเศร้าหมอง เสนาสนะ เศร้าหมอง หรือเห็นทุกกรกิริยาต่างๆ ถือเอาประมาณในความเศร้าหมองนั้นแล้ว เกิดความเลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณเลื่อมใสใน ความเศร้าหมอง บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณเลื่อมใสในธรรม เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๕/๑๐๘-๑๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๔}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นศีล สมาธิ ปัญญา แล้วถือเอาประมาณในศีล เป็นต้นนั้นแล้ว เกิดความเลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม [๑๗๓] บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง พร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเองเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยศีลแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม ด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยสมาธิแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญาแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเอง เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเองเป็นผู้ไม่ ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม ด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ตน เองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเองเป็นผู้ ถึงพร้อมด้วยวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคล เช่นนี้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=36&page=204&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=36&A=5623 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=36&A=5623#p204 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 36 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_36 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36 https://84000.org/tipitaka/english/?index_36



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]