ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

หน้าที่ ๑๐.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ปุคคลกถา

อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า หยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้าหยั่งรู้ บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว- ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด” ฉะนั้น นิคคหะที่ท่านกระทำแล้วเป็นการกระทำโดยมิชอบ ปฏิกรรมเป็นการ กระทำโดยชอบแล้ว การดำเนินกระบวนความเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
นิคคมจตุกกะ จบ นิคคหะที่ ๒ จบ
๒. โอกาสสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับโอกาส๑-
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
[๑๑] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวง๒- โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓- สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้ง ใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับโอกาส คำว่า โอกาส มีความหมายหลาย @อย่าง เช่น ที่ ที่ตั้ง เวลาที่เหมาะสม เหตุ การขออนุญาต ในที่นี้หมายถึงที่ ที่ตั้ง เช่น สรีระ ภพ ภูมิ โลก @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑/๑๓๗) @ โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงสรีระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑/๑๓๗) @ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่า มีอัตตาในรูป แต่ถ้าตอบปฏิเสธก็เท่ากับยอมรับว่า @ชีวะกับสรีระต่างกัน ซึ่งฝ่ายปรวาทียอมรับไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๑๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=37&page=10&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=263 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=37&A=263#p10 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]