ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

หน้าที่ ๒๘๘-๒๙๑.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

                                                                 ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)

[๓๒๕] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ฯลฯ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ เมื่อ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ อรหันต์มี” สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ อรหันต์มี” สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๑๐๑/๑๙๒-๑๙๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๘๘}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

                                                                 ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)

บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ อรหันต์มี” สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว พร้อมกับการ บรรลุโสดาปัตติมรรค พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ อรหันต์มี” สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด ขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่ง โสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ อรหันต์มี” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๒๓๓-๒๓๔/๕๕๕ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๘๙}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

                                                                 ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)

สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “โธตกะ เราไม่อาจปลดเปลื้องใครๆ ผู้มีความสงสัยในโลกได้ แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ ก็จะพึงข้ามโอฆะได้เองด้วยประการฉะนี้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ อรหันต์มี” ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ผู้อื่นจะพึงแนะนำนามและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง ชื่อ ของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. หากผู้อื่นจะพึงแนะนำชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี” สก. ผู้อื่นจะพึงแนะนำชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง ชื่อของ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของ พระอรหันต์จึงมีใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๐๗๑/๗๕๕, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๙/๑๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙๐}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

                                                                 ๕. วจีเภทกถา (๑๔)

สก. ผู้อื่นจะพึงแนะนำโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปรวิตารณกถา จบ
๕. วจีเภทกถา (๑๔)
ว่าด้วยการเปล่งวาจา
[๓๒๖] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ในโอกาสทั้งปวง๓- ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๔- ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ในกาลทั้งปวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๕- ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓) @ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่บุคคลบรรลุโสดาปัตติผล จะมีการเปล่งเสียงว่า ทุกข์ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓) @ โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓) @ เพราะหมายเอารูปภพอย่างเดียว จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓) @ เพราะหมายเอากาลที่เข้าสมาบัติอื่นนอกจากการเข้าปฐมฌานในขณะโสดาปัตติมรรค จึงตอบปฏิเสธ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๒๘๘-๒๙๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=37&page=288&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=7904 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=37&A=7904#p288 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๘๘-๒๙๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]