ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

หน้าที่ ๓๒๖-๓๒๙.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

                                                                 ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)

สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๑๒ ๑- ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสดาปัตติผลมี ๑๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๔๔ ๒- ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสดาปัตติผลมี ๔๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๗๗ ๓- ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสดาปัตติผลมี ๗๗ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๔๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” ใช่ไหม สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงญาณในปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีองค์ ๑๒ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗) @ หมายถึงญาณที่ท่านกล่าวไว้ในนิทานวรรคอย่างนี้ว่า ญาณในชราและมรณะ ญาณในชรา มรณะ และ @สมุทัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗) @ หมายถึงญาณที่ท่านกล่าวไว้ในนิทานวรรคอย่างนี้ว่า ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง @อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๖}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

                                                                 ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)

ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยมีการ ศึกษาไปโดยลำดับ๑- มีการบำเพ็ญไปโดยลำดับ๒- มีการปฏิบัติไปโดยลำดับ๓- ไม่ใช่ มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที เหมือนมหาสมุทรต่ำลงไปโดยลำดับ ลาดลงไป โดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที”๔- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น จึงมีการบรรลุธรรมโดยลำดับ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ผู้มีปัญญาพึงกำจัดมลทินของตนทีละน้อยๆ ทุกขณะ โดยลำดับ เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง”๕- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น จึงมีการบรรลุธรรมโดยลำดับ สก. ท่านยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ การศึกษาไปโดยลำดับ หมายถึงการศึกษาสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔) @ การบำเพ็ญไปโดยลำดับ หมายถึงการบำเพ็ญธุดงค์ ๑๓ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔) @ การปฏิบัติไปโดยลำดับ หมายถึงอนุปัสสนา ๙ มหาวิปัสสนา ๑๘ อารัมมณวิภัตติ ๓๘ และ @โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔) @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๙-๒๐/๒๔๘-๒๕๕ @ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๓๙/๑๐๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๗}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

                                                                 ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)

สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระควัมปติเถระกล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า ‘ผู้มี อายุทั้งหลาย ผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็น ทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พร้อมกับการได้บรรลุโสดาปัตติมรรค ฯลฯ และเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำอภิฐาน ๖” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรม- จักษุที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๑๐๐/๖๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๘}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

                                                                 ๑๐. โวหารกถา (๑๙)

ขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ”
อนุปุพพาภิสมยกถา จบ
๑๐. โวหารกถา (๑๙)
ว่าด้วยพระโวหาร
[๓๔๗] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกุตตระ ไม่กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกุตตระ รับรู้ไม่ได้ด้วย วิญญาณที่เป็นโลกิยะ พระอริยสาวกรับรู้ได้ แต่ปุถุชนรับรู้ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๗/๑๘๗-๑๘๘) @ เพราะมีความเห็นว่า พระโวหารที่พระพุทธองค์ทรงใช้แสดงธรรมล้วนเป็นโลกุตตระ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๗/๑๘๗-๑๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๒๖-๓๒๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=37&page=326&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=8947 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=37&A=8947#p326 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๒๖-๓๒๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]