ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

หน้าที่ ๓๗๕-๓๗๖.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

                                                                 ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)

[๓๗๔] สก. มังสจักษุที่ธรรม๑- อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นมังสจักษุได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มังสจักษุที่ธรรม๒- อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักษุ(ตาปัญญา)ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักษุได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักษุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๓ อย่าง คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ และปัญญาจักษุ” มิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงกามาวจรธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๔/๑๙๗) @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๔/๑๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๗๕}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

                                                                 ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)

สก. หากจักษุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๓ อย่าง คือ (๑) มังสจักษุ (๒) ทิพยจักษุ (๓) ปัญญาจักษุ” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น” สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ (๑) มังสจักษุ (๒) ทิพยจักษุ (๓) ปัญญาจักษุ จักษุมี ๓ อย่างนี้แล พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้อุดมบุรุษ ได้ตรัสจักษุ ๓ อย่าง คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ และปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม ความเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุเป็นทางแห่งทิพยจักษุ เมื่อใด ญาณคือปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยมเกิดขึ้น เมื่อนั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะได้ปัญญาจักษุ”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น”
ทิพพจักขุกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.อิติ. (แปล) ๒๕/๖๑/๔๑๖-๔๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๗๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๗๕-๓๗๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=37&page=375&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=10276 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=37&A=10276#p375 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๗๕-๓๗๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]