ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๕.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

                                                                 ๔๘. เถยยสังวาสวัตถุ

เหล่านี้ แม้ที่มิใช่บัณเฑาะก์ก็ชำเราบัณเฑาะก์เหล่านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณะเหล่านี้ จึงล้วนแต่มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์” ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเลี้ยงช้าง คนเลี้ยงม้าเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้เป็นบัณเฑาะก์ ไม่พึง ให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย” (๑)
๔๘. เถยยสังวาสวัตถุ
ว่าด้วยคนลักเพศ๑- และคนเข้ารีตเดียรถีย์บรรพชา
ห้ามคนลักเพศและคนเข้ารีตอุปสมบท
[๑๑๐] สมัยนั้น บุตรของตระกูลเก่าแก่คนหนึ่ง เป็นคนบอบบาง มีหมู่ญาติใน ตระกูลสิ้นไป เขามีความคิดว่า “เราเป็นคนบอบบาง ไม่สามารถจะหาโภคทรัพย์ ที่ยังไม่มี หรือจะทำโภคทรัพย์ที่มีอยู่ให้เพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยวิธีใดหนอ เราจะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก” คิดได้ว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ มีลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดีๆ นอนในห้องอันมิดชิด ถ้ากระไรเราพึงเตรียม @เชิงอรรถ : @ คนลักเพศ แปลมาจากคำว่า “เถยยสังวาสกะ” คนลักเพศมี ๓ จำพวก คือ (๑) คนลักเพศ @(๒) คนลักสังวาส (๓) คนลักทั้งเพศและสังวาส @คนที่บวชเองแล้วไปวัด ไม่คำนึงพรรษาของภิกษุ ไม่ยินดีการไหว้ตามลำดับพรรษา ไม่ห้ามอาสนะ @ไม่เข้าร่วมในอุโบสถและปวารณาเป็นต้น นี้ชื่อว่าคนลักเพศ @คนที่ภิกษุทั้งหลายบวชให้ ขณะยังเป็นสามเณร ไปต่างถิ่น พูดเท็จว่า “ผมบวชมาแล้ว ๑๐ พรรษา @หรือ ๒๐ พรรษา” คำนึงพรรษาของภิกษุ ยินดีการไหว้ตามลำดับพรรษา ห้ามอาสนะ เข้าร่วมในอุโบสถ @และปวารณาเป็นต้น เพราะเหตุเพียงลักสังวาสเท่านั้น นี้ชื่อว่า คนลักสังวาส ก็กิริยาทุกประเภทมีการนับ @พรรษาของภิกษุเป็นต้นพึงทราบว่า “สังวาส” @คนที่บวชเองแล้วไปวัด คำนึงถึงการนับพรรษาของภิกษุ ยินดีการไหว้ตามลำดับพรรษา ห้ามอาสนะ @เข้าร่วมในอุโบสถและปวารณาเป็นต้น เพราะลักเพศและสังวาส นี้ชื่อว่า คนลักทั้งเพศและสังวาส @(วิ.อ. ๓/๑๑๐/๘๒-๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๗๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

                                                                 ๔๙. ติรัจฉานคตวัตถุ

บาตรและจีวร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะเสียเอง แล้วไปยังอารามอยู่ร่วม กับภิกษุทั้งหลาย” ต่อมา เขาได้เตรียมบาตรและจีวร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะเอง ไปยังอารามไหว้ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านมีพรรษาได้เท่าไรล่ะ” เขาย้อนถามว่า “ที่ชื่อว่ามีพรรษาเท่าไร นั่นคืออะไร ขอรับ” “ท่าน ก็ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านล่ะ” “ที่ชื่อว่าพระอุปัชฌาย์ นั่นคือใคร ขอรับ” ภิกษุทั้งหลายได้บอกเรื่องนี้แก่ท่านพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี ขอนิมนต์ท่าน สอบสวนบรรพชิตรูปนี้ดูเถิด” ครั้นเขาถูกท่านพระอุบาลีสอบสวนจึงยอมบอกเรื่องนั้น ท่านพระอุบาลีได้บอก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้เป็นคนลักเพศ ไม่พึง ให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ไม่พึงให้อุปสมบท๑- ที่ อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย” (๒-๓)
๔๙. ติรัจฉานคตวัตถุ
ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉานบรรพชา
นาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบรรพชา
[๑๑๑] สมัยนั้น นาคตัวหนึ่งอึดอัด ระอา รังเกียจกำเนิดนาค ต่อมา นาคนั้นมีความดำริว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจะพึงพ้นจากกำเนิดนาค @เชิงอรรถ : @ อนุปสัมบันที่ไปเข้ารีตเดียรถีย์นั้น ไม่เพียงแต่ไม่พึงให้อุปสมบทเท่านั้น ยังเป็นผู้ที่ไม่พึงบรรพชาให้อีกด้วย @(วิ.อ. ๓/๑๑๐/๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๗๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=4&page=174&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=4&A=4913 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=4&A=4913#p174 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 4 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_4 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4 https://84000.org/tipitaka/english/?index_4



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]