ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๗๗-๗๘.


                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

                                                                 ๔. ปฏิสารณียกรรม

ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะในปฏิสารณียกรรม จบ
อากังขมานจตุกกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงปฏิสารณียกรรม ๔ หมวด
หมวดที่ ๑
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของพวกคฤหัสถ์ ๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของพวกคฤหัสถ์ ๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งพวกคฤหัสถ์ ๔. ด่าบริภาษพวกคฤหัสถ์ ๕. ยุยงพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ เหล่านี้แล (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์ ๒. กล่าวติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์๑- @เชิงอรรถ : @ ติเตียนพระพุทธเจ้า,พระธรรม,พระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์ หมายถึงติเตียนต่อหน้าพวกคฤหัสถ์ @(วิ.อ. ๓/๓๙/๒๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

                                                                 ๔. ปฏิสารณียกรรม

๔. ด่าพวกคฤหัสถ์ด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า ๕. รับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ เหล่านี้แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภแก่พวกคฤหัสถ์ ๒. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของพวกคฤหัสถ์ ๓. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งพวกคฤหัสถ์ ๔. รูปหนึ่งด่าปริภาษพวกคฤหัสถ์ ๕. รูปหนึ่งยุยงพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูปเหล่านี้แล (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๕ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์ ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ๓. พวกหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์ ๔. รูปหนึ่งด่าพวกคฤหัสถ์ด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า ๕. รูปหนึ่งรับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูปเหล่านี้แล (๔)
อากังขมานจตุกกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๗๗-๗๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=6&page=77&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=6&A=1962 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=6&A=1962#p77 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 6 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6 https://84000.org/tipitaka/english/?index_6



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗๗-๗๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]