ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

หน้าที่ ๑๓๘-๑๔๑.


                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

                                                                 ๓. ตติยภาณวาร

บรรดาภิกษุมักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน อุปนันทศากยบุตรจึงหวงเสนาสนะไว้ถึง ๒ แห่งเล่า” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอุปนันทะว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอ เพียงรูปเดียวหวงเสนาสนะไว้ ๒ แห่งจริงหรือ” พระอุปนันทะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆะบุรุษ ไฉนเธอผู้เดียวจึงหวงเสนาสนะ ไว้ถึง ๒ แห่งเล่า โมฆบุรุษ เธอถือในที่นั้นแล้วสละในที่นี้ ถือในที่นี้แล้วสละในที่นั้น โมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้เธอก็จะคลาดจากเสนาสนะทั้ง ๒ แห่ง โมฆบุรุษ การ กระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปเดียวไม่พึงหวง เสนาสนะไว้ ๒ แห่ง รูปใดหวงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องตรัสวินยกถา
[๓๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงพรรณนา คุณแห่งพระวินัย ตรัสสรรเสริญการเรียนพระวินัย ทรงพรรณนาคุณของท่านพระ อุบาลีโดยประการต่างๆ ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถา ทรงพรรรนา คุณแห่งพระวินัย ตรัสสรรเสริญการเรียนพระวินัย ทรงพรรณนาคุณของท่านพระ อุบาลีโดยประการต่างๆ ขอให้พวกเรามาเรียนพระวินัยในสำนักของท่านพระอุบาลี กันเถิด” ภิกษุเหล่านั้นจำนวนมากเป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มีพากันเล่า เรียนพระวินัยในสำนักของท่านพระอุบาลี ท่านพระอุบาลีก็ยืนสอนด้วยความเคารพ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ฝ่ายภิกษุเถระทั้งหลายก็ยืนเรียนด้วยความเคารพธรรม ด้วยเหตุนี้ ภิกษุเถระทั้งหลายก็เมื่อยล้า และท่านพระอุบาลีก็เมื่อยล้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๓๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

                                                                 ๓. ตติยภาณวาร

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนวกะผู้สอนนั่งบน อาสนะเสมอกันหรือสูงกว่า(ภิกษุผู้เรียนที่เป็นเถระ)ได้ ด้วยความเคารพธรรม ให้ภิกษุ ผู้เถระผู้เรียนนั่งบนอาสนะเสมอกันหรือต่ำกว่า(พระผู้สอนที่เป็นนวกะ)ได้ ด้วยความ เคารพธรรม” สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากยืนรอคอยจะเรียนพระวินัยในสำนักของท่านพระอุบาลี จนเมื่อยล้า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีอาสนะ๑- ระดับ เดียวกันนั่งรวมกันได้” ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ที่ชื่อว่าภิกษุมีอาสนะระดับเดียวกัน ด้วยคุณสมบัติเท่าไร” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีพรรษาแก่กว่า กันอ่อนกว่ากันระหว่าง ๓ พรรษานั่งรวมกันได้” สมัยนั้น ภิกษุจำนวนหลายรูปมีอาสนะระดับเดียวกันนั่งบนเตียงเดียวกัน ทำให้ เตียงหัก นั่งบนตั่งเดียวกัน ทำให้ตั่งหัก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ ๓ รูป ตั่งละ ๓ รูป” แม้ภิกษุ ๓ รูปนั่งบนเตียงก็ทำให้เตียงหัก นั่งบนตั่งก็ทำให้ตั่งหัก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ อาสนะ ในที่นี้ มีความหมายใช้แทน พรรษา (ดู วิ.อ. ๓/๓๒๐/๓๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๓๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

                                                                 ๓. ตติยภาณวาร

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ ๒ รูป ตั่งละ ๒ รูป” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะนั่งบนอาสนะยาวร่วมกับภิกษุผู้มีอาสนะ ต่างระดับกัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วม กับภิกษุที่มีอาสนะต่างระดับกันได้ ยกเว้นบัณเฑาะก์ มาตุคาม อุภโตพยัญชนก” ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อาสนะยาวที่สุดกำหนดไว้เท่าไร ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาสนะยาวที่สุดนั่งได้ ๓ รูป” สมัยนั้น นางวิสาขามิคารมาตาประสงค์จะให้สร้างปราสาทมีระเบียงและมีหลังคา ดังเทริดตั้งอยู่บนกระพองช้างถวายสงฆ์ ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการใช้สอยปราสาทหรือยังไม่ได้ทรงอนุญาต” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้สอยปราสาททุกอย่าง” สมัยนั้น สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต เพราะการทิวงคตนั้น เครื่องอกัปปิยภัณฑ์จำนวนมากจึงเกิดขึ้นแก่สงฆ์ คือ ๑. เตียงมีเท้าสูงเกินขนาด ๒. เตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย ๓. พรมขนสัตว์ ๔. เครื่องลาดขนแกะลายวิจิตร ๕. เครื่องลาดขนแกะมีสีขาว ๖. เครื่องลาดมีรูปดอกไม้ ๗. เครื่องลาดยัดนุ่น ๘. เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายเช่นราชสีห์และเสือ ๙. เครื่องลาดขนแกะมีขน ๒ ด้าน ๑๐. เครื่องลาดขนแกะมีขนด้านเดียว ๑๐. เครื่องลาดปักด้วยไหมประดับรัตนะ ๑๒. เครื่องลาดผ้าไหมประดับรัตนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๔๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

                                                                 ๓. ตติยภาณวาร

๑๓. เครื่องลาดขนแกะขนาดใหญ่ที่นางฟ้อน ๑๖ คนร่ายรำ ๑๔. เครื่องลาดบนหลังช้าง ๑๕. เครื่องลาดบนหลังม้า ๑๖. เครื่องลาดในรถ ๑๗. เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือ ๑๘. เครื่องลาดหนังชะมด ๑๙. เครื่องลาดมีเพดาน ๒๐. เครื่องลาดมีหมอน ๒ ข้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดเท้าเก้าอี้นอนแล้ว ใช้สอยได้ ให้ทำลายรูปสัตว์ร้ายเตียงใหญ่แล้วใช้สอยได้ ให้รื้อฟูกที่ยัดนุ่นทำเป็นหมอน แล้วใช้สอยได้ นอกจากนี้ให้ทำเป็นเครื่องลาดพื้น”
อวิสสัชชิยวัตถุ
ว่าด้วยของที่ไม่พึงสละ
[๓๒๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ประจำในอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ไม่ห่าง จากกรุงสาวัตถี จัดแจงเสนาสนะแก่พวกภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทาง ได้รับความลำบาก ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “เวลานี้พวกเราจัด แจงเสนาสนะแก่พวกภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทางได้รับความลำบาก ท่านทั้งหลาย เอาเถอะ พวกเราจะมอบเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมด แก่ภิกษุรูปหนึ่ง จะใช้สอยเสนาสนะของเธอ” ภิกษุเหล่านั้นได้ให้เสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมดแก่ภิกษุรูป หนึ่ง ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ประจำในอาวาสเหล่านั้น ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรดจัดเสนาสนะให้พวกกระผมเถิด” ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายตอบว่า “เสนาสนะของสงฆ์ไม่มีหรอกท่าน เสนาสนะทั้งหมด พวกเรามอบให้ภิกษุรูปหนึ่งไปแล้ว” ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายถามว่า “พวกท่านมอบเสนาสนะของสงฆ์ให้ภิกษุรูป หนึ่งไปแล้วหรือ” ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายตอบว่า “ใช่แล้ว ท่านทั้งหลาย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๔๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๓๘-๑๔๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=7&page=138&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=7&A=3679 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=7&A=3679#p138 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 7 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_7 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7 https://84000.org/tipitaka/english/?index_7



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๓๘-๑๔๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]