ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๑๑-๑๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 ทิฏฐิ ๖๒ สัสสตวาทะ ๔

ทิฏฐิ ๖๒
ปุพพันตกัปปิกวาทะ ๑๘
ความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอดีต
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย มีธรรมเหล่าอื่นอีกที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบประณีต ใช้เหตุผลคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคต๑- รู้ แจ้งได้เองแล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามอันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้อง ตามความเป็นจริง ก็ธรรมที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ... อันเป็นเหตุให้คน กล่าวยกย่องตถาคตตามความเป็นจริง คืออะไรบ้าง [๒๙] ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์๒- พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มี ความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิ ต่างๆ ด้วยมูลเหตุ ๑๘ อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไรปรารภ อะไรจึงกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วน อดีต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่างๆ ด้วยมูลเหตุ ๑๘ อย่าง
สัสสตวาทะ ๔
เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา๓- และโลกว่าเที่ยงด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง
มูลเหตุที่ ๑
[๓๑] ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิด @เชิงอรรถ : @ คำว่า ตถาคต ในที่นี้ เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสหมายถึงพระองค์เอง แทนคำว่า “เรา” (อุตตมบุรุษ) @ เป็นคำเรียกพราหมณ์พวกหนึ่งที่เป็นสมณะ ชื่อว่าเป็นสมณะโดยการบวช และชื่อว่าเป็นพราหมณ์โดย @ชาติกำเนิด (ที.สี.อ. ๒๙/๙๕) @ อัตตาในที่นี้หมายถึง วิญญาณอมตะหรืออาตมัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 ทิฏฐิ ๖๒ สัสสตวาทะ ๔

อย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิ๑- ที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น (บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี กิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง) ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ อย่างนั้นๆ จุติ(เคลื่อน)จากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่าง นั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้’ เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ ชีวประวัติอย่างนี้ เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจ เสาระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยง อยู่แน่ เพราะเหตุอะไร เพราะว่าเราอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติ บ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติ บ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ อย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มี ตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมา เกิดในภพนี้ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ อย่างนี้ เพราะการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ เราจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสาระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติ และเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’ @เชิงอรรถ : @ สมาธิแห่งจิต คือสมาธิในรูปาวจรจตุตถฌาน (ที.สี.อ. ๓๑/๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 ทิฏฐิ ๖๒ สัสสตวาทะ ๔

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ แล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
มูลเหตุที่ ๒
[๓๒] ๒. อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความ เพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่าง ถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๑- บ้าง ๒ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๓ สังวัฏฏกัปและ วิวัฏฏกัปบ้าง ๔ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๕ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๑๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมี อายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสา ระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่ แน่ เพราะเหตุอะไร เพราะว่าเราอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้ง มั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๒ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๓ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปบ้าง ๔ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๕ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๑๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมี @เชิงอรรถ : @ สังวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเสื่อม, ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเจริญ, ช่วงระยะเวลา @ที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 ทิฏฐิ ๖๒ สัสสตวาทะ ๔

อายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เราระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เพราะการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ เราจึงรู้ อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสาระเนียด ส่วนสัตว์ เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ แล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
มูลเหตุที่ ๓
[๓๓] ๓. อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความ เพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่าง ถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๒๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๓๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปบ้าง ๔๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไป เกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวย สุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เขาระลึกถึงชาติก่อน ได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสา ระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่ แน่ เพราะเหตุอะไร เพราะว่าเราอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้ง มั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๒๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๓๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปบ้าง ๔๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 ทิฏฐิ ๖๒ สัสสตวาทะ ๔

มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เขาระลึกถึง ชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เพราะการได้ บรรลุคุณวิเศษนี้ เราจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่ เที่ยงอยู่แน่’ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ แล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
มูลเหตุที่ ๔
[๓๔] ๔. อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นนักตรรกะ๑- เป็นนักอภิปรัชญา๒- แสดงทรรศนะของตนตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริงอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสาระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อม แล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ แล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง @เชิงอรรถ : @ นักตรรกะ(ตกฺกี) ผู้ที่ให้เหตุผลตามแนวของตรรกศาสตร์ (Logic) มี ๔ จำพวก คือ อนุสสติกะ อนุมาน @จากข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ ชาติสสระ อนุมานโดยการระลึกชาติ ลาภิตักกิกะ อนุมานจากประสบการณ์ @ภายในของตน และ สุทธิตักกิกะ อนุมานโดยใช้เหตุผลล้วนๆ (ที.สี.อ. ๓๔/๙๘) @ นักอภิปรัชญา(วีมํสี) ผู้ที่ให้เหตุผลโดยการคาดคะเนความจริงเอาจากการเทียบเคียงจนพอใจถูกใจแล้วยึด @ถือเป็นทฤษฎี เช่น คาดคะเนในเรื่องที่เกี่ยวกับปฐมเหตุของโลกและจักรวาล (ที.สี.อ. ๓๔/๙๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 ทิฏฐิ ๖๒ เอกัจจสัสสตวาทะ ๔

สรุปสัสสตวาทะ
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกมี วาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยมูลเหตุทั้ง ๔ อย่างนี้ หรือด้วย มูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้ [๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ที่บุคคลยึด ถืออย่างนี้แล้ว ย่อมมีคติและภพหน้าอย่างนั้นๆ ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัด และยังรู้ชัด ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกจึงไม่ยึดมั่นเมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ความดับด้วยตนเองรู้ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดเวทนาออกตามความเป็นจริง ตถาคตจึงหลุดพ้น เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น [๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ใช้เหตุผลคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตรู้แจ้งได้ เองแล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามอันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้องตาม ความเป็นจริง
ภาณวารที่ ๑ จบ
เอกัจจสัสสตวาทะ ๔
เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงเป็นบางอย่าง
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วย มูลเหตุ ๔ อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไรปรารภอะไร จึงมีวาทะ ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บาง อย่างไม่เที่ยง ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง [๓๙] ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่งเมื่อล่วงไปนานๆ โลกนี้พินาศ เมื่อโลกกำลัง พินาศเหล่าสัตว์ส่วนมากไปเกิดที่อาภัสสรพรหมโลก นึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ตามปรารถนา มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากร่างกาย เที่ยวสัญจรไปในอากาศ อยู่ในวิมาน อันงดงาม สถิตอยู่นานแสนนาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๑-๑๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=9&page=11&pages=6&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=312 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=9&A=312#p11 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๑-๑๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]