ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๑๖-๒๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 ทิฏฐิ ๖๒ เอกัจจสัสสตวาทะ ๔

สรุปสัสสตวาทะ
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกมี วาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยมูลเหตุทั้ง ๔ อย่างนี้ หรือด้วย มูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้ [๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ที่บุคคลยึด ถืออย่างนี้แล้ว ย่อมมีคติและภพหน้าอย่างนั้นๆ ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัด และยังรู้ชัด ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกจึงไม่ยึดมั่นเมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ความดับด้วยตนเองรู้ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดเวทนาออกตามความเป็นจริง ตถาคตจึงหลุดพ้น เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น [๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ใช้เหตุผลคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตรู้แจ้งได้ เองแล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามอันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้องตาม ความเป็นจริง
ภาณวารที่ ๑ จบ
เอกัจจสัสสตวาทะ ๔
เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงเป็นบางอย่าง
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วย มูลเหตุ ๔ อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไรปรารภอะไร จึงมีวาทะ ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บาง อย่างไม่เที่ยง ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง [๓๙] ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่งเมื่อล่วงไปนานๆ โลกนี้พินาศ เมื่อโลกกำลัง พินาศเหล่าสัตว์ส่วนมากไปเกิดที่อาภัสสรพรหมโลก นึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ตามปรารถนา มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากร่างกาย เที่ยวสัญจรไปในอากาศ อยู่ในวิมาน อันงดงาม สถิตอยู่นานแสนนาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 ทิฏฐิ ๖๒ เอกัจจสัสสตวาทะ ๔

[๔๐] สมัยหนึ่ง เมื่อล่วงไปนานๆ โลกนี้กลับฟื้นขึ้น เมื่อโลกกำลังฟื้นขึ้น วิมานของพรหมปรากฏว่าว่างเปล่า เวลานั้นสัตว์ผู้จุติจากชั้นอาภัสสรพรหมโลก เพราะสิ้นอายุหรือสิ้นบุญ ย่อมเกิดที่วิมานพรหมอันว่างเปล่า นึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ ตามปรารถนา มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากร่างกาย เที่ยวสัญจรไปในอากาศ อยู่ในวิมานอันงดงาม สถิตอยู่นานแสนนาน [๔๑] เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในวิมานแต่ผู้เดียวเป็นเวลานานจึงเกิดเบื่อหน่ายว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นพึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ต่อมา สัตว์เหล่าอื่นจุติจากชั้น อาภัสสรพรหมโลกเพราะสิ้นอายุหรือสิ้นบุญ ย่อมเกิดที่วิมานพรหมเป็นผู้อยู่ร่วมกับ สัตว์นั้น แม้สัตว์พวกนั้นนึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ตามปรารถนา มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมี ซ่านออกจากร่างกาย เที่ยวสัญจรไปในอากาศ อยู่ในวิมานอันงดงาม สถิตอยู่นาน แสนนาน [๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์พวกนั้น ผู้เกิดก่อนมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา เป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุม อำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดา ของสัตว์ผู้เกิดมาแล้วและกำลังจะเกิด เราบันดาลสัตว์เหล่านี้ขึ้นมา เพราะเหตุไร เพราะว่าเรามีความคิดมาก่อนว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นพึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง เรา มีความตั้งใจอย่างนี้และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลังก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญนี้เป็นพระพรหม เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของ สัตว์ผู้เกิดมาแล้วและกำลังจะเกิด พระพรหมผู้เจริญบันดาลพวกเราขึ้นมา เพราะ เหตุไร เพราะว่าพวกเราได้เห็นพระพรหมองค์นี้เกิดในที่นี้ก่อน ส่วนพวกเราเกิดมา ภายหลัง [๔๓] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์พวกนั้น ผู้เกิดก่อนมีอายุยืน ผิวพรรณ งดงามและมีศักดิ์มากกว่า ส่วนผู้เกิดภายหลังมีอายุสั้น ผิวพรรณทรามและมีศักดิ์ น้อยกว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 ทิฏฐิ ๖๒ เอกัจจสัสสตวาทะ ๔

มูลเหตุที่ ๑
[๔๔] ๕. (๑) ข้อที่สัตว์ผู้จุติ (เคลื่อน) จากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้๑- เป็น เรื่องที่เป็นไปได้ เมื่อเขามาเป็นอย่างนี้แล้วออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิต เมื่อ บวชแล้วอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็น เหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกถึงชาติก่อนนั้นได้ ถัดจากนั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เป็นพระพรหมผู้เจริญ เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิด พระ พรหมผู้เจริญบันดาลพวกเราขึ้นมา ท่านเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร จัก ดำรงอยู่เที่ยงแท้ไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญนั้นบันดาลขึ้น มากลับเป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน อายุสั้น ต้องจุติมาเป็นอย่างนี้’ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ แล้วจึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่าง เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
มูลเหตุที่ ๒
[๔๕] ๖. (๒) อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาพวกหนึ่งชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ เทวดาพวกนั้นหมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนานสรวลเสเฮฮาเกินเวลา เมื่อหมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนานสรวลเสเฮฮาเกินเวลาย่อมหลงลืมสติ เพราะหลง ลืมสติจึงพากันจุติจากชั้นนั้น @เชิงอรรถ : @ จากพรหมโลกมาเกิดเป็นมนุษย์ (ที.สี.อ. ๔๔/๑๐๓-๑๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 ทิฏฐิ ๖๒ เอกัจจสัสสตวาทะ ๔

[๔๖] ข้อที่สัตว์ผู้จุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เมื่อ เขามาเป็นอย่างนี้แล้วออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความ เพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกถึงชาติก่อนนั้นได้ ถัดจากนั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘พวกเทวดาผู้เจริญ ผู้ไม่ใช่เหล่าขิฑฑาปโทสิกะย่อมไม่ หมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนานสรวลเสเฮฮาเกินเวลา เมื่อไม่หมกมุ่นอยู่ในความ สนุกสนานสรวลเสเฮฮาเกินเวลาย่อมไม่หลงลืมสติ เพราะไม่หลงลืมสติจึงไม่จุติจาก ชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร จักดำรงอยู่เที่ยงแท้ไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราเหล่าขิฑฑาปโทสิกะมัวแต่หมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนานสรวลเสเฮฮา เกินเวลา เมื่อหมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนานสรวลเสเฮฮาเกินเวลาย่อมหลงลืมสติ เพราะหลงลืมสติจึงต้องจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน อายุสั้น ต้องจุติมา เป็นอย่างนี้’ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ แล้ว จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บาง อย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
มูลเหตุที่ ๓
[๔๗] ๗. (๓) อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาพวกหนึ่งชื่อว่ามโนปโทสิกะ เทวดาพวกนั้นมัวจ้องจับผิดกันและกันเกินควร เมื่อมัวจ้องจับผิดกันและกันเกิน ควรจึงคิดมุ่งร้ายต่อกัน เมื่อคิดมุ่งร้ายต่อกันจึงเหนื่อยกายเหนื่อยใจพากันจุติจาก ชั้นนั้น [๔๘] ข้อที่สัตว์ผู้จุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เมื่อ เขามาเป็นอย่างนี้แล้วออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 ทิฏฐิ ๖๒ อันตานันติกวาทะ ๔

เพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกถึงชาติก่อนนั้นได้ ถัดจากนั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘พวกเทวดาผู้เจริญ ผู้ไม่ใช่เหล่ามโนปโทสิกะ ย่อมไม่มัว จ้องจับผิดกันและกันเกินควร เมื่อไม่มัวจ้องจับผิดกันและกันเกินควรก็ไม่คิดมุ่งร้าย ต่อกัน เมื่อไม่คิดมุ่งร้ายต่อกันก็ไม่เหนื่อยกายเหนื่อยใจจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร จักดำรงอยู่เที่ยงแท้ไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวก เราเหล่ามโนปโทสิกะมัวจ้องจับผิดกันและกันเกินควร เมื่อมัวจ้องจับผิดกันและกัน เกินควรจึงคิดมุ่งร้ายต่อกัน เมื่อคิดมุ่งร้ายต่อกัน จึงเหนื่อยกายเหนื่อยใจ พากันจุติ จากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน อายุสั้น ต้องจุติมาเป็นอย่างนี้’ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ แล้ว จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บาง อย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
มูลเหตุที่ ๔
[๔๙] ๘. (๔) อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็น นักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา แสดงทรรศนะของตนตามหลักเหตุผลและการคาด คะเนความจริงอย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่เรียกว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้เรียกว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน ต้องผันแปร ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิต ใจ วิญญาณ นี้เรียกว่าอัตตา เป็นของเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร จักดำรงอยู่เที่ยงแท้ไป เช่นนั้นทีเดียว’ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ แล้ว จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บาง อย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 ทิฏฐิ ๖๒ อันตานันติกวาทะ ๔

สรุปเอกัจจสัสสตวาทะ
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บาง อย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บาง อย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยมูลเหตุ ทั้ง ๔ อย่างนี้ หรือด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้ [๕๑] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ที่บุคคล ยึดถืออย่างนี้แล้วย่อมมีคติและภพหน้าอย่างนั้นๆ ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัดและยังรู้ ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกจึงไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ความดับด้วยตนเอง รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดเวทนาออกตามความเป็นจริง ตถาคตจึง หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น [๕๒] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ใช้เหตุผลคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตรู้แจ้งได้ เองแล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามอันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้องตาม ความเป็นจริง
อันตานันติกวาทะ ๔
เห็นว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด๑-
[๕๓] ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลก ไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง ก็ สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไรปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลก ไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง @เชิงอรรถ : @ คำว่า ที่สุด ในที่นี้หมายถึงขอบเขตของโลก ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และตามขวาง ซึ่งเป็นข้อที่ยกขึ้นโต้แย้งกัน @ว่า โลกมีขอบเขตกำจัด หรือไม่มีขอบเขตจำกัด (ที.สี.อ. ๕๔/๑๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๖-๒๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=9&page=16&pages=6&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=462 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=9&A=462#p16 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๖-๒๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]