ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๒๒๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

                                                                 ศาสดาที่สมควรถูกทักท้วง ๓ ประเภท

ความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อ ความสุขแก่พวกท่าน’ สาวกของเขาจึงไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และหลีกเลี่ยงที่ จะประพฤติตามคำสั่งสอน เขาสมควรถูกทักท้วงว่า ‘ท่านออกจากเรือนไปบวชเป็น บรรพชิตยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุดมุ่งหมาย แห่งความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อ ความสุขแก่พวกท่าน สาวกของท่านจึงไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และหลีกเลี่ยงที่ จะประพฤติตามคำสั่งสอน เปรียบเหมือนบุรุษที่ประชิดตัวสตรีผู้กำลังถอยหนี หรือ เปรียบเหมือนบุรุษสวมกอดสตรีที่หันหลังให้ ข้ออุปไมยนี้ก็เช่นกัน เราเรียกข้อ เปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้ สอนได้’ นี้คือศาสดาประเภทที่ ๑ ซึ่งสมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของผู้ทักท้วง ศาสดาประเภทนี้ก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ [๕๑๔] (๒) ยังมีอีก โลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนไปบวช เป็นบรรพชิตยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุดมุ่ง หมายแห่งความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์ และเพื่อความสุขแก่พวกท่าน’ สาวกของเขาก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะรู้ และไม่หลีก เลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน เขาสมควรถูกทักท้วงว่า ‘ท่านออกจากเรือนไป บวชเป็นบรรพชิตยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุด มุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์ และเพื่อความสุขแก่พวกท่าน สาวกของท่านก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะรู้ และไม่หลีก เลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน เปรียบเหมือนคนผู้ละเลยนาของตน เข้าใจนาของ ผู้อื่นว่าเป็นที่อันตนควรบำรุง ข้ออุปไมยนี้ก็เช่นเดียวกัน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ นี้คือศาสดาประเภท ที่ ๒ ซึ่งสมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาประเภทนี้ก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ [๕๑๕] (๓) ยังมีอีก โลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนไปบวช เป็นบรรพชิตได้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ครั้นบรรลุจุดมุ่งหมายแห่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๒๒๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=9&page=227&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=6686 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=9&A=6686#p227 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๒๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]