ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๘๘-๙๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๓. อัมพัฏฐสูตร]

                                                                 เรื่องอัมพัฏฐมาณพ

มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ด้วยพระ องค์เองแล้วทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มี ความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง”
เรื่องอัมพัฏฐมาณพ
[๒๕๖] เวลานั้น อัมพัฏฐมาณพผู้เป็นศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติ เป็น ผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์๑- จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์๒- รู้ตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์ และการทำนายลักษณะมหาบุรุษ๓- อาจารย์ยกย่องและตัวเขาก็ยอมรับในวิชชา ๓ ประการอันเป็นของอาจารย์ของตนว่ารู้เท่ากันกับที่อาจารย์รู้ @เชิงอรรถ : @ บทสวด (มันตระ) ในคัมภีร์พระเวท หมายถึงบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า ซึ่งรวบรวมเป็นหมวดๆ เรียก @ชื่อว่า ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท @ ไตรเพท หมายถึงคัมภีร์ ๓ ข้างต้น คือ ฤคเวท (อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (ส่วนอาถรรพเวท @ปรากฏภายหลังจากการปรากฏของพระสูตรนี้) @นิฆัณฑุศาสตร์ คัมภีร์ประเภทศัพทมูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์ @(Glossary) ที่รวบรวมคำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยาก หรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมาย @เป็นส่วนหนึ่งของนิรุกติ ซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า @นิฆัณฏุ @เกฏุภศาสตร์ คัมภีร์ที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นส่วน @หนึ่งของกัลปะ ซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า ไกฏภ @อักษรศาสตร์ คือ คัมภีร์ว่าด้วยสิกขา (การเปล่งเสียง, การออกเสียง) และนิรุตติ (การอธิบายคำศัพท์ @โดยอาศัยประวัติและกำเนิดของคำ) @ประวัติศาสตร์ คือพงศาวดารเล่าเรื่องเก่าๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้ได้เป็นมาอย่างนี้ [ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒ และ @ดู Dawson, John.A Classical Dictionary of Hindu Mythology (London: Routledge and @Kegan Paul, 1957) p. 222] @ ศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น อันมีอยู่ในคัมภีร์พราหมณ์ ซึ่งเรียกว่า @มนตร์ เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยผู้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่าพุทธมนตร์ มีอยู่ ๑๖,๐๐๐ คาถา @(ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๘๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๓. อัมพัฏฐสูตร]

                                                                 เรื่องอัมพัฏฐมาณพ

[๒๕๗] ครั้งนั้นพราหมณ์โปกขรสาติเรียกอัมพัฏฐมาณพมาบอกว่า “อัมพัฏฐะ ท่านพระสมณโคดมพระองค์นี้เป็นศากยบุตร เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จ ถึงอิจฉานังคลคามโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน ใกล้อิจฉานังคล- คาม ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระ ผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบ พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ ผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และ หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรง ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่าง แท้จริง’ มาเถิด พ่ออัมพัฏฐมาณพ เธอจงไปเฝ้าท่านพระสมณโคดมถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจงรู้จักพระสมณโคดมให้ได้ พวกเราจะได้รู้จักท่านพระโคดมว่า กิตติศัพท์ ของท่านพระโคดมที่ขจรไปเช่นนั้นจริงหรือไม่ ท่านพระโคดมทรงเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่” [๒๕๘] อัมพัฏฐมาณพเรียนถามว่า “ท่านขอรับ ทำอย่างไรผมจึงจะรู้จักท่าน พระโคดมว่า กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไปเช่นนั้นจริงหรือไม่ ท่านพระโคดม ทรงเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่” พราหมณ์โปกขรสาติตอบว่า “พ่ออัมพัฏฐะ พระมหาบุรุษผู้ประกอบด้วย ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการที่ปรากฏในมนตร์ของเรา ย่อมมีคติ ๒ อย่าง ไม่เป็น อย่างอื่น คือ (๑) ถ้าทรงอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครอง ราชย์โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ แล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว (รัตนะ) ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว คหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว มีพระราชบุตร มากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญมีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์สามารถ ย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรมไม่ต้องใช้อาชญาหรือศัสตรา ครอบครอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๘๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๓. อัมพัฏฐสูตร]

                                                                 อัมพัฏฐมาณพพูดกดศากยวงศ์ว่าเป็นคนรับใช้ครั้งที่ ๑

แผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต (๒) ถ้าเสด็จออกจากพระราชวังไปผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก เราเป็นผู้ให้มนตร์ แต่เธอ เป็นผู้รับมนตร์” [๒๕๙] อัมพัฏฐมาณพรับคำแล้วลุกจากที่นั่ง ไหว้พราหมณ์โปกขรสาติ กระทำประทักษิณแล้วขึ้นยานพาหนะเทียมลาไปพร้อมด้วยมาณพหลายคน ตรงไป ยังราวป่าอิจฉานังคลวันจนสุดทางยานพาหนะ แล้วลงจากยานพาหนะเดินเข้าไปยัง พระอาราม เวลานั้น ภิกษุหลายรูปกำลังเดินจงกรมอยู่กลางแจ้ง อัมพัฏฐมาณพเข้าไปหา ภิกษุเหล่านั้นถึงที่จงกรมแล้วถามว่า “ท่านขอรับ เวลานี้ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน พวกเรามาที่นี้ก็เพื่อจะเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้น” [๒๖๐] ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า ‘อัมพัฏฐมาณพคนนี้เกิดในตระกูลที่มีชื่อเสียง ทั้ง เป็นศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติผู้โด่งดัง พระผู้มีพระภาคทรงสนทนากับกุลบุตร เช่นนี้จะไม่หนักพระทัย’ จึงตอบว่า “อัมพัฏฐะ นั่นพระวิหารปิดประตูอยู่ ท่านจง เข้าไปทางพระวิหารนั้นเงียบๆ ค่อยๆ เข้าไปที่เฉลียงกระแอมก่อนจึงเคาะบานประตู พระผู้มีพระภาคจักทรงเปิดประตูให้ท่าน” [๒๖๑] ต่อมา อัมพัฏฐมาณพเข้าไปทางพระวิหารนั้นเงียบๆ ค่อยๆ เข้า ไปที่เฉลียงกระแอมก่อนจึงเคาะบานประตู พระผู้มีพระภาคทรงเปิดประตูให้ อัมพัฏฐมาณพจึงเข้าไป ฝ่ายพวกมาณพก็พากันเข้าไปสนทนากับพระผู้มีพระภาค ครั้นสนทนากันพอคุ้นเคยดีจึงนั่งลง ณ ที่สมควร แต่อัมพัฏฐมาณพเดินบ้าง ยืนบ้าง สนทนากับพระผู้มีพระภาคผู้ประทับนั่งอยู่ [๒๖๒] พระผู้มีพระภาคตรัสถามอัมพัฏฐมาณพว่า “อัมพัฏฐะ เธอเคย สนทนากับพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่าผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ เหมือนดังที่เธอเดินบ้าง ยืนบ้าง สนทนากับเราผู้นั่งอยู่เช่นนี้หรือ”
อัมพัฏฐมาณพพูดกดศากยวงศ์ว่าเป็นคนรับใช้ครั้งที่ ๑
[๒๖๓] อัมพัฏฐมาณพตอบว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านพระโคดม แท้จริง พราหมณ์ผู้เดินก็ควรสนทนากับพราหมณ์ผู้เดิน พราหมณ์ผู้ยืนก็ควรสนทนากับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๙๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๘๘-๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=9&page=88&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=2593 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=9&A=2593#p88 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9



จบการแสดงผล หน้าที่ ๘๘-๙๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]