ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. อุปนิสสูตร
[๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เมื่อเราไม่รู้ ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี เมื่อเรารู้ เราเห็นว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ... ดังนี้เวทนา ... ดังนี้สัญญา ... ดังนี้สังขารทั้งหลาย ... ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับ แห่งวิญญาณ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เรา เห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ฯ [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป ๑- เกิดขึ้นแล้ว ญาณ @๑. อรหัตผล ในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่ อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่า วิมุตติ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่ อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควร กล่าวว่า นิพพิทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย แห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่า สมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ ควรกล่าวว่า สุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย แห่งสุข ควรกล่าวว่า ปัสสัทธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปัสสัทธิว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่า ปีติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว แม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควรกล่าวว่า ความปราโมทย์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุ ที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์ ควรกล่าวว่า ศรัทธา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย แห่งศรัทธา ควรกล่าวว่า ทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุ ที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็น เหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์ ควรกล่าวว่า ชาติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง ชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไร เล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ ควรกล่าวว่า ภพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว แม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งภพ ควรกล่าวว่า อุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งอุปาทานว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน ควรกล่าวว่า ตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี เหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งตัณหา ควรกล่าวว่า เวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย แห่งเวทนา ควรกล่าวว่า ผัสสะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งผัสสะ ควรกล่าวว่า สฬายตนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวแม้ซึ่งสฬายตนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ ควรกล่าวว่า นามรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี เหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนามรูป ควรกล่าวว่า วิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่า มีเหตุที่ อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ ที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ ควรกล่าวว่า สังขารทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว แม้ซึ่งสังขารทั้งหลายว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย ควรกล่าวว่า อวิชชา ด้วยเหตุดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย วิญญาณมีสังขารเป็นที่อิงอาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย สฬายตนะมีนามรูป เป็นที่อิงอาศัย ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย เวทนามีผัสสะเป็นที่อิงอาศัย ตัณหา มีเวทนาเป็นที่อิงอาศัย อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย ภพมีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย ชาติมีภพเป็นที่อิงอาศัย ทุกข์มีชาติเป็นที่อิงอาศัย ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย ความ ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย ปัสสัทธิมีปีติ เป็นที่อิงอาศัย สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย สมาธิมีสุขเป็นที่อิงอาศัย ยถาภูตญาณ ทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ [๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ตกอยู่บนยอดภูเขา น้ำนั้น ไหลไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขา ระแหง และห้วยให้เต็ม ซอกเขาระแหงและห้วย ทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังหนองทั้งหลายให้เต็ม หนองทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังบึงทั้งหลายให้เต็ม บึงทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำน้อยๆ ให้เต็ม แม่น้ำน้อยๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ๆ ให้เต็ม แม้น้ำใหญ่ๆ เต็ม เปี่ยมแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรให้เต็ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขาร ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย ฯลฯ ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่ อิงอาศัย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๐๔-๗๘๔ หน้าที่ ๒๙ - ๓๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=704&Z=784&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=69&book=16              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=19              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=68              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=16&A=718              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=16&A=718              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_16

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]