ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๖. สีหสูตร
ว่าด้วยอุปมาพระพุทธเจ้ากับพญาราชสีห์
[๑๕๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราช เวลาเย็นออกจากที่ อาศัยแล้ว เหยียดกายแล้ว. เหลียวแลดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบแล้ว บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วออก เดินไปเพื่อหากิน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาสีหมฤคราช บันลือสีหนาทอยู่ โดยมากย่อมถึงความกลัว ความตกใจ และความสะดุ้ง จำพวกที่อาศัยอยู่ ในรู ย่อมเข้ารู จำพวกที่อาศัยอยู่ในน้ำ ย่อมดำน้ำ จำพวกที่อาศัยอยู่ในป่า ย่อมเข้าป่า จำพวกปักษี ย่อมบินขึ้นสู่อากาศ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงพระยาช้างทั้งหลายของพระมหากษัตริย์ ซึ่งถูกผูกด้วยเครื่องผูก คือ เชือกหนังอันมั่นคง ในคามนิคมและราชธานี ก็สลัดทำลายเครื่อง ผูกเหล่านั้นจนขาด กลัวจนมูตรคูถไหล หนีเตลิดไป. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราช มีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย เช่นนี้แล. [๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้ง ซึ่งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควร ฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้ จำแนกธรรม เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงแสดงธรรมว่า รูปเป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งรูป เป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ฯลฯ สังขารเป็น ดังนี้ ฯลฯ วิญญาณเป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เทวดาทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุข ซึ่งดำรงอยู่ได้นาน ในวิมานสูง ได้สดับธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว โดยมากต่างก็ถึงความกลัว ความสังเวช ความสะดุ้งว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า เราทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ แต่ได้เข้าใจว่าเที่ยง เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่ยั่งยืนเลย แต่ได้เข้าใจว่ายั่งยืน เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่แน่นอนเลย แต่ ได้เข้าใจว่าแน่นอน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ถึงพวกเราก็เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน นับเนื่องแล้วในกายตน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคต มีฤทธิ์ศักดานุภาพ ยิ่งใหญ่กว่าโลก กับทั้งเทวโลกเช่นนี้แล. พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบแล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปว่า [๑๕๗] เมื่อใด พระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดา หาบุคคลเปรียบมิได้ ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร คือ ความเกิดพร้อม แห่งกายตน ความดับแห่งกายตน และอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ อันให้ถึงความสงบทุกข์ แก่โลกกับทั้งเทวโลก. เมื่อนั้น แม้ถึงเทวดา ทั้งหลาย ผู้มีอายุยืน มีวรรณะ มียศก็กลัว ถึงความสะดุ้งว่า ท่านผู้ เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเราไม่เที่ยง ไม่ล่วงพ้นกายตนไปได้ ดังนี้ เพราะได้สดับถ้อยคำของพระอรหันต์ผู้หลุดพ้น ผู้คงที่ เหมือนหมู่มฤค สะดุ้งต่อพญาสีหมฤคราชฉะนั้น.
จบ สูตรที่ ๖.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๑๙๒๐-๑๙๕๔ หน้าที่ ๘๕ - ๘๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1920&Z=1954&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=156&book=17              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=78              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=155              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=17&A=2073              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=17&A=2073              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_17

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]