ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
กุสีตวัตถุสูตร
[๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุสีตวัตถุ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ กายจักลำบาก ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราแล ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ กายลำบากแล้ว ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอ นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้อง เดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายจักลำบาก ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงทางที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุทางที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งทางที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดิน ทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายลำบากแล้ว ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงทางที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุทางที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งทางที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะอัน เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวเดิน บิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความ ต้องการ กายของเรานั้นลำบากแล้ว ไม่ควรแก่การงาน ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอ นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะ เศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา เที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความ ต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่การงาน เหมือนถั่วชุ่มด้วยน้ำ ผิฉะนั้นเราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุ ประการที่ ๖ ฯ อีกประการหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดแก่เราแล้ว มีข้ออ้างเพื่อจะนอน ผิฉะนั้นเราจะนอน เธอ นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๗ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน กายของเรายังอ่อน เพลีย ไม่ควรแก่การงาน ผิฉะนั้นเราจักนอนเสียก่อน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงการงานที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุการงานที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง การงานที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุสีตวัตถุ ๘ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๘
อารัพภวัตถุสูตร
[๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อารัพภวัตถุ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงานแล ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่พึงทำมนสิการคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ง่าย ผิฉะนั้น เราจะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๑ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธ- *เจ้าทั้งหลายได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๒ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ไม่พึงกระทำมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ง่าย ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๓ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ไม่สามารถมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๔ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้าน หรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ กายของเรานั้นเบา
ควรแก่การงาน ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๕ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้าน หรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ กายของเรานั้นเบา
ควรแก่การงาน ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๖ ฯ อีกประการหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เรา การที่อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบนั้น เป็นฐานะ ที่จะมีได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๗ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน การที่อาพาธของเรา จะพึงกลับกำเริบนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ผิฉะนั้น จะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อารัพภวัตถุ ๘ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๙
จบยมกวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฏิปทาสูตร ๖ สูตร ๒. อิจฉาสูตร ๓. ลัจฉาสูตร ๘ สูตร ๔. ปริหานสูตร ๕. อปริหานสูตร ๖. กุสีตวัตถุสูตร ๗. อารัพภวัตถุสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๗๐๖๑-๗๑๔๒ หน้าที่ ๓๐๕ - ๓๐๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=7061&Z=7142&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=185&book=23              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=153              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=185              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=23&A=7288              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=23&A=7288              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]