ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒. สรภังคชาดก
สรภังคดาบสเฉลยปัญหา
[๒๔๔๖] ท่านทั้งหลายผู้ประดับแล้ว สอดใส่กุณฑล นุ่งห่มผ้างดงาม เหน็บพระ ขรรค์มีด้ามประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ และแก้วมุกดา เป็นจอมพลรถยืนอยู่ เป็นใครกันหนอ ชนทั้งหลายในมนุษยโลกจะรู้จักท่านทั้งหลายอย่างไร? [๒๔๔๗] ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์ชื่อว่าอัฏฐกะ ส่วนท่านผู้นี้ คือ พระเจ้าภีมรถะ และท่านผู้นี้ คือพระเจ้ากาลิงคราช มีพระเดช ฟุ้งเฟื่อง ข้าพเจ้า ทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อเยี่ยมท่านฤาษีทั้งหลายผู้สำรวมด้วยดี และเพื่อจะ ขอถามปัญหา. [๒๔๔๘] ท่านเหาะลอยอยู่ในอากาศเวหา ดังพระจันทร์ลอยเด่นอยู่ท่ามกลางท้อง ฟ้าในวัน ๑๕ ค่ำ ฉะนั้น ดูกรเทพเจ้า อาตมภาพขอถามท่านผู้มีอานุภาพ มาก ชนทั้งหลายในมนุษยโลกจะรู้จักท่านอย่างไร? [๒๔๔๙] ในเทวโลกเขาเรียกข้าพเจ้าว่า สุชัมบดี ในมนุษยโลกเขาเรียกข้าพเจ้าว่า ท้าวมฆวา ข้าพเจ้านั้น คือ ท้าวเทวราช วันนี้มาถึงที่นี่ เพื่อขอเยี่ยม ท่านฤาษีทั้งหลายผู้สำรวมแล้วด้วยดี. [๒๔๕๐] ฤาษีทั้งหลายของข้าพเจ้า ผู้มีฤทธิ์มาก ประกอบด้วยอิทธิคุณ มาประชุม พร้อมกันแล้ว ปรากฏไปในที่ไกล ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ขอไหว้พระ- คุณเจ้าทั้งหลาย ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ในชีวโลกนี้. [๒๔๕๑] กลิ่นแห่งฤาษีทั้งหลายผู้บวชมานาน ย่อมออกจากกายฟุ้งไปตามลมได้ ดูกรท้าวสหัสสเนตร เชิญมหาบพิตรถอยไปเสียจากที่นี่ ดูกรท้าวเทวราช กลิ่นของฤาษีทั้งหลายไม่สะอาด. [๒๔๕๒] กลิ่นแห่งฤาษีทั้งหลายผู้บวชมานาน จงออกจากกายฟุ้งไปตามลมเถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมมุ่งหวังกลิ่นนั้น ดังพวง บุปผาชาติอันวิจิตรมีกลิ่นหอม เพราะว่าเทวดาทั้งหลายมิได้มีความสำคัญ ในกลิ่นนี้ ว่าเป็นปฏิกูล. [๒๔๕๓] ท้าวมัฆวานสุชัมบดีเทวราช องค์ปุรินททะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูต มีพระ ยศ เป็นจอมแห่งทวยเทพ ทรงย่ำยีหมู่อสูร ทรงรอคอยโอกาส เพื่อ ตรัสถามปัญหา. บรรดาฤาษีผู้เป็นบัณฑิตเหล่านี้ ณ ที่นี้ ใครเล่าหนอ ถูกถามแล้วจักพยากรณ์ปัญหาอันสุขุม ของพระราชา ๓ พระองค์ผู้เป็น ใหญ่ในหมู่มนุษย์ และของท้าววาสวะผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพได้? [๒๔๕๔] ท่านสรภังคฤาษีผู้เรืองตบะนี้ เว้นจากเมถุนธรรมตั้งแต่เกิดมา เป็นบุตร ของปุโรหิตาจารย์ ได้รับฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ท่านจักพยากรณ์ปัญหา ของพระราชาเหล่านั้นได้. [๒๔๕๕] ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดพยากรณ์ปัญหา ฤาษีทั้งหลายผู้ยัง ประโยชน์ให้สำเร็จ พากันขอร้องท่าน ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ภาระนี้ ย่อมมาถึงท่านผู้เจริญด้วยปัญญา นี่เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์. [๒๔๕๖] มหาบพิตรผู้เจริญทั้งหลาย อาตมภาพให้โอกาสแล้ว เชิญตรัสถามปัญหา อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามพระหฤทัยปรารถนาเถิด ก็อาตมภาพรู้โลกนี้และ โลกหน้าเองแล้ว จักพยากรณ์ปัญหานั้นๆ แก่มหาบพิตรทั้งหลาย. [๒๔๕๗] ลำดับนั้น ท้าวมัฆวานสักกเทวราชปุรินททะ ทรงเห็นประโยชน์ ได้ ตรัสตามปัญหาอันเป็นปฐม ดังที่พระทัยปรารถนาว่า บุคคลฆ่าซึ่งอะไรสิ จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ ฤาษีทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการละ อะไรบุคคลพึงอดทนคำหยาบที่ใครๆ ในโลกนี้กล่าวแล้ว ข้าแต่ท่าน โกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้แก่โยมเถิด? [๒๔๕๘] บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ ฤาษีทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการละความลบหลู่ บุคคลควรอดทนคำหยาบที่ชนทั้งปวง กล่าว สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนนี้ว่าสูงสุด. [๒๔๕๙] บุคคลอาจจะอดทนถ้อยคำของคนทั้ง ๒ พวกได้ คือ คนที่เสมอกัน ๑ คนที่ประเสริฐกว่าตน ๑ จะอดทนถ้อยคำของคนเลวกว่าได้อย่างไรหนอ ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้แก่โยมเถิด? [๒๔๖๐] บุคคลพึงอดทนถ้อยคำของคนผู้ประเสริฐกว่าได้ เพราะความกลัว พึงอด ทนถ้อยคำของคนที่เสมอกันได้ เพราะการแข่งขันเป็นเหตุ ส่วนผู้ใดใน โลกนี้ พึงอดทนถ้อยคำของคนที่เลวกว่าได้ สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความ อดทนของผู้นั้นว่าสูงสุด. [๒๔๖๑] ไฉนจึงจะรู้จักคนประเสริฐกว่า คนที่เสมอกัน หรือคนที่เลวกว่า ซึ่งมี สภาพอันอิริยาบถทั้ง ๔ ปกปิดไว้ เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมเที่ยว ไปด้วยสภาพของคนชั่วได้ เพราะเหตุนั้นแล จึงควรอดทนถ้อยคำของคน ทั้งปวง. [๒๔๖๒] สัตบุรุษผู้มีความอดทน พึงได้ผลคือความไม่มีการกระทบกระทั่ง เพราะ การสงบระงับเวร เสนาแม้มากพร้อมด้วยพระราชาเมื่อรบอยู่ จะพึงได้ ผลนั้นก็หามิได้ เวรทั้งหลายย่อมระงับด้วยกำลังแห่งขันติ. [๒๔๖๓] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน แต่จะขอถามปัญหาอื่นๆ กะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวปัญหานั้น โดยมีพระราชา ๔ พระองค์ คือ พระเจ้า ทัณฑกี ๑ พระเจ้านาลิกีระ ๑ พระเจ้าอัชชุนะ ๑ พระเจ้ากลาพุ ๑ ขอ ท่านได้โปรดบอกคติของพระราชาเหล่านั้น ผู้มีบาปกรรมอันหนัก พระ- ราชาทั้ง ๔ องค์นั้นเบียดเบียนฤาษีทั้งหลาย พากันบังเกิด ณ ที่ไหน? [๒๔๖๔] พระเจ้าทัณฑกี ได้เรี่ยรายโทษลง ณ ท่านกีสวัจฉดาบสแล้ว เป็นผู้มีมูล อันขาดแล้ว พร้อมทั้งบริษัท พร้อมทั้งชาวแว่นแคว้น หมกไหม้อยู่ใน นรกชื่อกุกกูละ ถ่านเพลิงปราศจากเปลว ย่อมตกลงบนพระกายของ พระราชานั้น. พระเจ้านาลิกีระได้เบียดเบียนบรรพชิตทั้งหลายผู้สำรวม แล้ว ผู้กล่าวธรรมสงบระงับ ไม่ประทุษร้ายใคร สุนัขทั้งหลายในโลก หน้า ย่อมรุมกันกัดกินพระเจ้านาลิกีระนั้นผู้ดิ้นรนอยู่. อนึ่ง พระเจ้า อัชชุนะ พระเศียรปักพระบาทขึ้น ตกลงในสัตติสูลนรก เพราะเบียด เบียน อังคีรสฤาษีผู้โคดม ผู้มีขันติ มีตบะ ประพฤติพรหมจรรย์มานาน. พระเจ้ากลาพุได้ทรงเชือดเฉือนฤาษีชื่อขันติวาที ผู้สงบระงับ ไม่ประทุษ ร้ายให้เป็นท่อนๆ พระเจ้ากลาพุนั้น ได้บังเกิดหมกไหม้อยู่ในอเวจีนรก อันร้อนใหญ่ มีเวทนากล้า น่ากลัว. บัณฑิตได้ฟังนรกเหล่านี้ และนรก เหล่าอื่นอันชั่วช้ากว่านี้ในที่นี้แล้ว ควรประพฤติธรรมในสมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้กระทำอย่างนี้ ย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์. [๒๔๖๕] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอ เชิญท่านกล่าวปัญหานั้น บัณฑิตเรียกคนเช่นไรว่ามีศีล เรียกคนเช่นไร ว่ามีปัญญา เรียกคนเช่นไรว่าสัตบุรุษ ศิริย่อมไม่ละคนเช่นไรหนอ? [๒๔๖๖] ผู้ใดในโลกนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจาและใจ ไม่ทำบาปกรรมอะไรๆ ไม่พูดพล่อยๆ เพราะเหตุแห่งตน บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีศีล. ผู้ใด คิดปัญหาอันลึกซึ้งได้ด้วยใจ ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าอันหาประโยชน์มิได้ ไม่ละทิ้งทางแห่งประโยชน์อันมาถึงตามกาล บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามี ปัญญา. ผู้ใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที มีปัญญา มีกัลยาณมิตร และมี ความภักดีมั่นคง ช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ บัณฑิตเรียก คนเช่นนั้นว่าสัตบุรุษ. ผู้ใดประกอบด้วยคุณธรรมทั้งปวงเหล่านี้ คือ เป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน แจกทานด้วยดี รู้ความประสงค์ ศิริย่อมไม่ ละคนเช่นนั้น ผู้สงเคราะห์ มีวาจาอ่อนหวาน สละสลวย. [๒๔๖๗] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอ เชิญท่านกล่าวปัญหานั้น นักปราชญ์ย่อมกล่าวศีล ศิริ ธรรม ของสัตบุรุษ และปัญญา ว่าข้อไหนประเสริฐกว่ากัน? [๒๔๖๘] ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวว่า ปัญญานั่นแหละประเสริฐสุด ดุจ พระจันทร์ประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย ฉะนั้น ศีล ศิริ และธรรมของ สัตบุรุษ ย่อมเป็นไปตามบุคคลผู้มีปัญญา. [๒๔๖๙] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวปัญหานั้น บุคคลในโลกนี้ทำอย่างไร ทำด้วยอุบาย อย่างไร ประพฤติอะไร เสพอะไร จึงจะได้ปัญญา ขอท่านได้โปรดบอก ปฏิปทาแห่งปัญญา ณ บัดนี้ว่า นรชนทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้มีปัญญา? [๒๔๗๐] บุคคลควรคบหาท่านผู้รู้ทั้งหลาย ละเอียดละออ เป็นพหูสูต พึงเป็นทั้ง นักเรียน และไต่ถาม พึงตั้งใจฟังคำสุภาษิตโดยเคารพ นรชนทำอย่าง นี้จึงจะเป็นผู้มีปัญญา. ผู้มีปัญญานั้นย่อมพิจารณาเห็นกามคุณทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นโรค ผู้เห็นแจ้งอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกามทั้งหลายอันเป็นทุกข์ มีภัยอันใหญ่หลวงเสียได้. ผู้นั้นปราศจากราคะแล้ว กำจัดโทสะได้ พึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณ งดอาชญาในสัตว์ทุกจำพวกแล้ว ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงแดนพรหม. [๒๔๗๑] การมาของมหาบพิตรผู้มีพระนามว่า อัฏฐกะ ภีมรถะ และกาลิงคราช ผู้มีพระเดชานุภาพฟุ้งเฟื่องไป เป็นการมาที่มีฤทธิ์ใหญ่โต ทุกๆ พระ องค์ทรงละกามราคะได้แล้ว. [๒๔๗๒] ท่านเป็นผู้รู้จิตผู้อื่น ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น กระผมทุกคนละกามราคะได้ แล้ว ขอท่านจงให้โอกาสเพื่อความอนุเคราะห์ตามที่กระผมทั้งหลายจะรู้ ถึงคติของท่านได้. [๒๔๗๓] อาตมาให้โอกาสเพื่อความอนุเคราะห์ เพราะมหาบพิตรทั้งหลาย ละกาม ราคะได้อย่างนั้นแล้ว จงยังกายให้ซาบซ่านด้วยปีติอันไพบูลย์ ตามที่ มหาบพิตรทั้งหลายจะทรงทราบถึงคติของอาตมา. [๒๔๗๔] ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน กระผมทั้งหลายจักทำตามคำสั่งสอนที่ ท่านกล่าวทุกอย่าง กระผมทั้งหลายจะยังกายให้ซาบซ่านด้วยปีติอัน ไพบูลย์ ตามที่กระผมทั้งหลายจะรู้ถึงคติของท่าน. [๒๔๗๕] ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ฤาษีทั้งหลายผู้มีคุณความดี ทำการบูชานี้แก่ กีสวัจฉดาบสแล้ว จงพากันไปยังที่อยู่ของตนๆ เถิด ท่านทั้งหลายจง เป็นผู้ยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่นทุกเมื่อเถิด ความยินดีนี้ เป็นคุณชาติ ประเสริฐสุดของบรรพชิต. [๒๔๗๖] ชนเหล่านั้นได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง ที่ฤาษีผู้เป็น บัณฑิตกล่าวดีแล้ว เกิดปีติโสมนัส พากันอนุโมทนาอยู่ เทวดา ทั้งหลายผู้มียศ ต่างก็พากันกลับไปสู่เทพบุรี. คาถาเหล่านี้มีอรรถ พยัญชนะดี อันฤาษีผู้เป็นบัณฑิตกล่าวดีแล้ว คนใดคนหนึ่งฟังคาถา เหล่านี้ให้มีประโยชน์ พึงได้คุณพิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ครั้น แล้วพึงบรรลุถึงสถานที่อันมัจจุราชมองไม่เห็น. [๒๔๗๗] สาลิสสรดาบสในกาลนั้น เป็นพระสารีบุตร เมณฑิสสรดาบสในกาลนั้น เป็นพระกัสสปะ ปัพพตดาบสในกาลนั้นเป็นพระอนุรุทธะ เทวิลดาบส ในกาลนั้น เป็นพระกัจจายนะ อนุสิสสดาบสในกาลนั้นเป็นพระอานนท์ กีสวัจฉดาบสในกาลนั้น เป็นโกลิตมหาโมคคัลลานะ นารทดาบสใน กาลนั้น เป็นพระอุทายีเถระ บริษัทในกาลนั้น เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ สรภังคดาบสโพธิสัตว์ในกาลนั้น คือตถาคต ท่านทั้งหลายจงทรงจำชาดก ไว้อย่างนี้แล.
จบ สรภังคชาดกที่ ๒.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๑๐๑๘๖-๑๐๓๒๓ หน้าที่ ๔๔๒ - ๔๔๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=10186&Z=10323&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=2466&book=27              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=522              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2446              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=27&A=11037              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=27&A=11037              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]