ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
กิเลสโคจฉกะ
[๗๙๑] ธรรมเป็นกิเลส เป็นไฉน? กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ [๗๙๒] บรรดากิเลสวัตถุ ๑๐ นั้น โลภะ เป็นไฉน? ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติ ผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไป สู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความ ผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความ หวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความ ใคร่ในอารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือน เถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือน เชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศล มูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ. [๗๙๓] โทสะ เป็นไฉน? อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้น ได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความ เสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของ เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำ ความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่ เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ความโกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า โทสะ. [๗๙๔] โมหะ เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกข- *นิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีต และส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ การไม่พิจารณา การไม่ทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า โมหะ. [๗๙๕] มานะ เป็นไฉน? การถือตัวว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา การถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความถือตัว มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกจิต ขึ้น ความมีจิตต้องการเป็นดุจธง นี้เรียกว่า มานะ. [๗๙๖] ทิฏฐิ เป็นไฉน? ความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่าโลกไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่ มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มี เบื้องหน้า แต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็น ไปข้างหน้า ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดถือมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่าทิฏฐิ. มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่าง จัดเป็น ทิฏฐิ. [๗๙๗] วิจิกิจฉา เป็นไฉน? ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน อดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม นี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความ คิดเห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทาง สองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิด พร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มี ลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา. [๗๙๘] ถีนะ เป็นไฉน? ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย ความหดหู่ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความซบเซา อาการที่ซบเซา ภาวะที่ซบเซาแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ. [๗๙๙] อุทธัจจะ เป็นไฉน? ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ. [๘๐๐] อหิริกะ เป็นไฉน? กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ไม่ละอายต่อการ ประกอบอกุศลบาปทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ. [๘๐๑] อโนตตัปปะ เป็นไฉน? กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อ การประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลส. [๘๐๒] ธรรมไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน? เว้นกิเลสธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็น กามาวจร รูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขต- *ธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นกิเลส. [๘๐๓] ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น อารมณ์ของสังกิเลส. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส. [๘๐๔] ธรรมเศร้าหมอง เป็นไฉน? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมอง. ธรรมไม่เศร้าหมอง เป็นไฉน? กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม ไม่เศร้าหมอง. [๘๐๕] ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยกิเลสธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัปยุตด้วยกิเลส. ธรรมวิปปยุตจากกิเลส เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากกิเลสธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลส. [๘๐๖] ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? กิเลสธรรมเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส. ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของสังกิเลสโดยกิเลสธรรมเหล่านั้น เว้นกิเลสธรรมเหล่านั้น เสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส. [๘๐๗] ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง เป็นไฉน? กิเลสเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง. ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด เศร้าหมองโดยกิเลสธรรมเหล่านั้น เว้นกิเลสธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส. [๘๐๘] ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน? โลภะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วย กิเลส โดยโลภะ โทสะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลสและสัมปยุต ด้วยกิเลส โดยโทสะ มานะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วย กิเลส โดยมานะ ทิฏฐิ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลสและสัมปยุต ด้วยกิเลส โดยทิฏฐิ วิจิกิจฉา เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยวิจิกิจฉา ถีนะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุต ด้วยกิเลส โดยถีนะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลสและสัมปยุต ด้วยกิเลส โดยอุทธัจจะ อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุต ด้วยกิเลส โดยอหิริกะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอโนตตัปปะ โลภะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยโลภะ โทสะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยโทสะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยโมหะ มานะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยมานะ ทิฏฐิ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยทิฏฐิ วิจิกิจฉา เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยวิจิกิจฉา ถีนะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยถีนะ อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยอหิริกะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอโนตตัปปะ โลภะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยโลภะ โทสะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยโทสะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยโมหะ มานะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยมานะ ทิฏฐิ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยทิฏฐิ วิจิกิจฉา เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยวิจิกิจฉา ถีนะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยถีนะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และ สัมปยุตด้วยกิเลส โดยอุทธัจจะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอโนตตัปปะ โลภะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยโลภะ โทสะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยโทสะ โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยโมหะ มานะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยมานะ ทิฏฐิ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยทิฏฐิ วิจิกิจฉา เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยวิจิกิจฉา ถีนะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยถีนะ อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอุทธัจจะ อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส โดยอหิริกะ สภาวธรรมเหล่านี้ ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส. ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยกิเลสธรรมเหล่านั้น เว้นกิเลสธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็น กิเลส. [๘๐๙] ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากกิเลสธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภท ที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจรรูป ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส. ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.
กิเลสโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๖๙๐๔-๗๑๐๘ หน้าที่ ๒๗๕ - ๒๘๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=6904&Z=7108&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=800&book=34              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=63              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=791              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=34&A=6220              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=34&A=6220              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_34

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]