ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
ปัญหาวาร
[๒๗๕] พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และพาหิรกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิต โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิต และอัชฌัตติกกฏัตตารูป ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิต และอัชฌัตติก และพาหิรกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย. [๒๗๖] อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ จิต ปรารภจิต เกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม ปรารภจิต เกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล
จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ปรารภจิต เกิดขึ้น. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ บุคคลกระทำอุโบสถกรรมแล้ว พิจารณาซึ่งกุศลธรรมนั้น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลพิจารณากุศลธรรมที่สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ออกจากฌาน พิจารณาฌาน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค ฯลฯ ผล ฯลฯ นิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่อาวัชชนะ โดย อารัมมณปัจจัย พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว ซึ่งเป็นพาหิรธรรม กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ รู้กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหลาย ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นพาหิรธรรม โดยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัย แก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ โดยอารัมมณปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดย อารัมมณปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ บุคคลพิจารณากุศลธรรมนั้น ย่อม ยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น จิตเกิดขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายที่ได้สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน พิจารณาฌาน ฯลฯ.
ที่ย่อไว้ทั้งหมด พึงจำแนกให้พิสดาร.
บุคคลพิจารณาเห็นกิเลสทั้งหลาย ที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ รูปทั้งหลาย ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ ปรารภรูปเป็นต้นนั้น จิตเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณ- *ปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ บุคคลพิจารณาซึ่งกุศลธรรมนั้น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น. ที่ย่อไว้ทั้งหมด พึงจำแนกให้พิสดาร. บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น จิตและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น. บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณ- *ปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย มี ๓ นัย. [๒๗๗] อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ จิต กระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และจิต ให้อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว เกิดขึ้น. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม กระทำจิตให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น แล้วเกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่อธิปติธรรม คือ จิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. พึงถามถึงมูล ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย กระทำจิตที่เป็นอัชฌัตติก- *ธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วเกิดขึ้น. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ มี ๓ นัย. อธิปติปัจจัยทั้งสอง พึงจำแนกทั้ง ๓ อย่าง. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๓ นัย. แม้ทั้ง ๓ ก็เป็นอธิปติปัจจัยอย่างเดียว. [๒๗๘] อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ จิตที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย มี ๓ นัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เกิด หลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู มี ๓ นัย. แม้ทั้ง ๓ อย่าง ก็เช่นเดียวกัน. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอนันตรปัจจัย มี ๓ นัย. เป็นปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย มี ๙ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. เป็นปัจจัย โดย อัญญมัญญปัจจัย มี ๕ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๙ นัย เหมือนกับ ปฏิจจวาร. [๒๗๙] อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ จิต เป็นปัจจัยแก่จิต โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ นัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะ ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. พึงแจกให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ อย่าง พึงแจกแก่จิต และสัมปยุตตขันธ์. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ นัย. [๒๘๐] อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ ฯลฯ กาย โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น จิตเกิดขึ้น. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ ฯลฯ กาย โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วย จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ ฯลฯ กาย โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยปุเรชาตปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหลาย ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลาย ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดย ปุเรชาตปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหลาย ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลาย ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภรูปเป็นต้นนั้น จิตเกิดขึ้น. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิตโดยปุเรชาตปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหลาย ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลาย ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภรูปเป็นต้น จิต และสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย เกิดขึ้น. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยปุเรชาตปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. คือ จักขายตนะ และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต กายายตนะ และหทัยวัตถุ เป็น ปัจจัยแก่จิต โดยปุเรชาตปัจจัย รูปายตนะ และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ และ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. คือ จักขายตนะ และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดย ปุเรชาตปัจจัย กายายตนะ และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดยปุเรชาต ปัจจัย รูปายตนะ และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ โดย ปุเรชาตปัจจัย. โผฏฐัพพายตนะ และกายายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดย ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. คือ จักขายตนะ และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดย ปุเรชาตปัจจัย กายายตนะ และหทัยวัตถุ ฯลฯ รูปายตนะ และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยปุเรชาตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ. [๒๘๑] อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็น อัชฌัตติกธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย.
พึงทำถึงมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นพาหิรธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย.
พึงทำถึงมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย. หัวข้อปัจจัยทั้ง ๙ พึงจำแนกอย่างนี้. เป็นปัจจัย โดยอาเสวนปัจจัย พึงจำแนกเป็นหัวข้อปัจจัย ๙. [๒๘๒] พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก. ที่เป็นสหชาต ได้แก่เจตนาที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่เจตนาที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น พาหิรธรรม ที่เป็นวิบากจิต และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก. ที่เป็นสหชาต ได้แก่เจตนาที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิต โดยกัมมปัจจัย. ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่เจตนาที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากจิต และกฏัตตารูป ทั้งหลาย ที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยกัมมปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก. ที่เป็นสหชาต ได้แก่เจตนาที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิต และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่เจตนาที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย และ จิต และกฏัตตารูป ที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยกัมมปัจจัย. เป็นปัจจัย โดยวิปากปัจจัย มี ๙ นัย. [๒๘๓] อัชญัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ ในปฏิสนธิขณะ อาหารทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยอาหารปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐาน- *รูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อาหารทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย และกฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดยอาหารปัจจัย. พึงกระทำมูล ในปฏิสนธิขณะ อาหารทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย และกฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอาหารปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิต และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ กพฬิงการาหารที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นพาหิรธรรม โดยอาหารปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิต โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อาหารทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตและกฏัตตารูป ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยอาหารปัจจัย กพฬิงการาหารที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่ กายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยอาหารปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิต และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อาหารทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิต และกฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอาหารปัจจัย กพฬิงการาหารที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และ พาหิรธรรม โดยอาหารปัจจัย อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ ในปฏิสนธิขณะ อาหารทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยอาหารปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อาหารทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดยอาหารปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ ในปฏิสนธิขณะ อาหารทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอาหารปัจจัย. [๒๘๔] อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยอินทริยปัจจัย จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐาน- *รูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย และกฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย. จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย กายินทรีย์ เป็นปัจจัย แก่กายวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย. รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิต โดยอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิต และกฏัตตารูป ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยอินทริยปัจจัย. รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยอินทริยปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิต และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิต และกฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย. รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยอินทริยปัจจัย จักขุนทรีย์ และอุเบกขินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย กายินทรีย์ และสุขินทรีย์ กายินทรีย์ และทุกขินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย จักขุนทรีย์ และอุเบกขินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย กายินทรีย์ และสุขินทรีย์ กายินทรีย์ และทุกขินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดย อินทริยปัจจัย คือ ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอินทริยปัจจัย จักขุนทรีย์ และอุเบกขินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย กายินทรีย์ ฯลฯ [๒๘๕] พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดย ฌานปัจจัย มี ๓ นัย. เป็นปัจจัย โดยมัคคปัจจัย มี ๓ นัย เป็นปัจจัย โดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ นัย [๒๘๖] อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ในปฏิสนธิขณะ จิต เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ที่เป็น อัชฌัตติกธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็น อัชฌัตติกธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *รูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็น พาหิรธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย แก่กายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรมที่เกิดร่วมกัน เป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ โดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดย วิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย ที่เป็นพาหิรธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย. ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิตโดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย ที่เป็นอัชฌัตติกธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัชติกธรรม และ พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ที่เกิดภายหลัง ฯลฯ. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และ พาหิรธรรม ฯลฯ [๒๘๗] อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ จิต เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ที่เป็น อัชฌัตติกธรรม โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่จักขุ ฯลฯ กาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เหมือนกับปุเรชาต ไม่มีแตกต่างกัน. ที่เป็นปัจฉาชาต พึงกระทำเหมือนปัจฉาชาตปัจจัย อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม ที่เกิดร่วมกัน เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ สหชาตในที่ทั้งปวง มีในที่นี้ เหมือนกับปัจจยวาร ปุเรชาต พึงกระทำเหมือนปัจฉาชาตปัจจัย ปัจฉาชาต พึงกระทำเหมือนปุเรชาตปัจจัย ไม่มีแตกต่างกัน. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์. พึงให้พิสดารทั้งหมด พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ฯลฯ. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ฯลฯ. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอัตถิปัจจัย. มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ เป็น ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปทั้งหลาย ที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต โดยอัตถิปัจจัย กายายตนะ และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต โดยอัตถิปัจจัย รูปายตนะ และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ และกายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอัตถิ- *ปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัย แก่กายที่เป็นอัชฌัตติกธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม และ กพฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอัชฌัตติกธรรมนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย. ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม และ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม โดยอัตถิปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ และจักขุ วิญญาณ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย. สหชาต เหมือนกับปัจจยวาร ไม่มีแตกต่างกัน เหมือนกับข้อความในบาลีข้างต้นนั้นเอง. พึงจำแนกบททั้งปวง โดยนัยแห่งปัจจัยสงเคราะห์ข้างต้น. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และ จักขายตนะ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจักขุวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ. พึงจำแนกบททั้งปวง โดยนัยแห่งปัจจัยสงเคราะห์ข้างต้น. เป็นปัจจัย โดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัย โดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอวิคตปัจจัย. [๒๘๘] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๓ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในอธิปติปัจจัย มี " ๙ ในอนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสหชาตปัจจัย มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๕ ในนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๙ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในกัมมปัจจัย มี " ๓ ในวิปากปัจจัย มี " ๙ ในอาหารปัจจัย มี " ๙ ในอินทริยปัจจัย มี " ๙ ในฌานปัจจัย มี " ๓ ในมัคคปัจจัย มี " ๓ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๙ ในอัตถิปัจจัย มี " ๙ ในนัตถิปัจจัย มี " ๙ ในวิคตปัจจัย มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย มี " ๙. [๒๘๙] อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปัจฉาชาตปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาต- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอินทริยปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาต ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อินทริยปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาต- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย. [๒๙๐] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๙. [๒๙๑] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยทั้งปวง กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓. [๒๙๒] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มี " ๙ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙.
พึงกระทำอนุโลมมาติกา.
ในอวิคตปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙.
อัชฌัตติกทุกะ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๔๔๒๐-๔๘๙๗ หน้าที่ ๑๗๓ - ๑๙๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=43&A=4420&Z=4897&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=275&book=43              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=43&siri=35              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=43&A=3227              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=43&A=3227              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_43

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]