ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
ปเภทวาร ๕
๑. สัจจวาร
[๗๗๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทุกข์ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทุกข- *สมุทัย ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทุกขนิโรธ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานใน ญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๖.

๒. เหตุวาร
[๗๗๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในผล ของเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
๓. ธรรมวาร
[๗๘๐] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะ แล้ว ปรากฏแล้ว ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ธรรม เหล่านั้น เกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏ แล้ว ด้วยธรรมเหล่าใด ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉาน ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
๔. ปัจจยาการวาร
[๗๘๑] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๗.

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในชรามรณะ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานใน เหตุเกิดแห่งชรามรณะ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในความดับแห่ง ชรามรณะ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในปฏิปทาอันเป็นเหตุให้ถึง ความดับแห่งชรามรณะ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมม- *นิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๘๒] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในชาติ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในภพ ฯลฯ ความรู้ แตกฉานในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้แตกฉานในตัณหา ฯลฯ ความรู้แตกฉานใน เวทนา ฯลฯ ความรู้แตกฉานในผัสสะ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในสฬายตนะ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในนามรูป ฯลฯ ความรู้แตกฉานในวิญญาณ ฯลฯ ความรู้ แตกฉานในสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในเหตุเกิด แห่งสังขาร ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในความดับแห่งสังขาร ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในปฏิปทาอันเป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งสังขาร ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติ- *ปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๘.

๕. ปริยัตติธรรมวาร
[๗๘๓] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมรู้แตกฉานซึ่งธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา- *กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ นี้เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ภิกษุนั้น ย่อมรู้แตกฉานอรรถแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นอรรถ แห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉาน ในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สุตตันตภาชนีย์ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๐๐๗๐-๑๐๑๔๒ หน้าที่ ๔๓๕ - ๔๓๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=10070&Z=10142&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=778&book=35&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=59              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=778              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=35&A=8037              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=35&A=8037              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]