ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
ปริพพาชกวรรค
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร
เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร
[๒๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี. ก็สมัยนั้น ปริพาชกวัจฉโคตร อาศัยอยู่ในปริพาชการาม ซึ่งมีต้นมะม่วงขาวต้นหนึ่ง. ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งห่มแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังเมือง เวสาลี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า เราจะเที่ยวบิณฑบาตในเมืองเวสาลีก่อนก็ยัง เช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาวัจฉโคตตปริพาชกที่ปริพาชการามอันมีต้นมะม่วงขาวต้นหนึ่งเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาวัจฉโคตตปริพาชก ถึงปริพาชการาม ซึ่งมีต้นมะม่วงขาว ต้นหนึ่ง. วัจฉโคตตปริพาชกได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้กราบทูลว่า ขอเชิญ พระผู้มีพระภาคเสด็จมาเถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาดีแล้ว กว่าจะเสด็จมาในที่นี้ นานทีเดียว ขอเชิญพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง นี้อาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง บนอาสนะที่ปูลาดแล้ว แม้วัจฉโคตตปริพาชกก็ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง. [๒๔๑] วัจฉโคตตปริพาชกนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่- *พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัศนะ ไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัศนะปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณ- *โคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาณทัสนะไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไป ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสนะปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไป ดังนี้ เป็นอันกล่าว ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำที่ไม่เป็นจริง และ ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรมแลหรือ อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้จะพึงติเตียนแลหรือ? ดูกรวัจฉะ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสนะไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสนะปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไป ดังนี้ ไม่เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว และชื่อว่า กล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่มี ไม่เป็นจริง.
พยากรณ์วิชชา ๓
[๒๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายจะพยากรณ์อย่างไร จึงจะเป็นอันกล่าว ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่ชื่อว่าตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง เป็นอันพยากรณ์ ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้ จะพึงติเตียนเล่า. ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะดังนี้แล เป็นอันกล่าว ตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้พึงติเตียนเลย. ดูกรวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึก ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็น อันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูกรวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึง สุคติ โลก สวรรค์ ดูกรวัจฉะ เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่. ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะเป็นอันกล่าวตามคำที่เรา กล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง เป็นอันพยากรณ์ถูก สมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้พึงติเตียน.
ลัทธิเดียรถีย์ไปสวรรค์ไม่ได้
[๒๔๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัจฉโคตตปริพาชกได้ทูลถามว่า ข้าแต่ พระโคดม คฤหัสถ์บางคนยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ เมื่อตายไป ย่อมทำที่สุดทุกข์ได้ มีอยู่หรือ? ดูกรวัจฉะ คฤหัสถ์ที่ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้แล้ว เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ ได้นั้น ไม่มีเลย. ข้าแต่พระโคดม ก็คฤหัสถ์บางคนยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ เมื่อตายไป เข้าถึง โลกสวรรค์ได้ มีอยู่หรือ? ดูกรวัจฉะ คฤหัสถ์ที่ละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ยังไม่ได้ เมื่อตายไป ได้ไปสวรรค์นั้น ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย เท่านั้น โดยที่แท้ มีอยู่มากทีเดียว. ข้าแต่ท่านพระโคดม อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้ มีอยู่บ้างหรือ? ดูกรวัจฉะ อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้นั้น ไม่มีเลย. ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะไปสวรรค์ได้ มีอยู่หรือ? ดูกรวัจฉะ แต่ภัทรกัปนี้ไปได้เก้าสิบเอ็ดกัปที่เราระลึกได้ เราจักได้รู้จักอาชีวกบางคนที่ไป สวรรค์หามิได้ นอกจากอาชีวกคนเดียว ที่เป็นกรรมวาที กิริยาวาที. ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนั้น ลัทธิของเดียรถีย์เป็นอันสูญโดยที่สุดจากคุณ เครื่องไปสู่สวรรค์น่ะซี. อย่างนั้นวัจฉะ ลัทธิของเดียรถีย์นี้ เป็นอันสูญโดยที่สุด แม้จากคุณเครื่องไปสู่สวรรค์. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. วัจฉโคตตปริพาชกยินดี ชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ จูฬวัจฉโคตตสูตร ที่ ๑.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๔๒๓๕-๔๓๑๕ หน้าที่ ๑๘๔-๑๘๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4235&Z=4315&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=21              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=240              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [240-243] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=13&item=240&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=3622              The Pali Tipitaka in Roman :- [240-243] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=13&item=240&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=3622              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i240-e1.php# https://suttacentral.net/mn71/en/sujato https://suttacentral.net/mn71/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :