ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
แล้วอยู่.
ทรงมีความขวนขวายน้อย
[๕๐๙] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพนั้นได้มีความคิดเห็นว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็น ธรรมลึก ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงได้ด้วยความตรึก เป็นธรรมละเอียด อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง. ก็หมู่สัตว์นี้ มีความอาลัยเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย. ก็การที่หมู่สัตว์ผู้มี ความอาลัยเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย จะเห็นฐานะนี้ได้โดยยาก คือ สภาพที่อาศัยกันเกิดขึ้นเพราะความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย. แม้ฐานะนี้ก็เห็นได้ยาก คือ สภาพ เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความปราศจากความ กำหนัด ความดับโดยไม่เหลือ นิพพาน. ก็เราจะพึงแสดงธรรม และสัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่รู้ ทั่วถึงธรรมของเรา นั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า เป็นความลำบากเปล่าของเรา. ดูกรราชกุมาร ที่นั้น คาถาอันอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแจ่มแจ้ง กะอาตมภาพว่า บัดนี้ ยังไม่สมควรจะประกาศธรรมที่เราบรรลุได้โดยยาก ธรรม นี้อันสัตว์ทั้งหลาย ผู้ถูกราคะ โทสะครอบงำ ไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ทั้งหลาย อันราคะย้อมแล้ว อันกองมืดหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรม อันยังสัตว์ให้ไปทวนกระแส ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู ดังนี้. ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพเห็นตระหนักอยู่ดังนี้ จิตของอาตมภาพก็น้อมไปเพื่อความ เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๗๙๗๙-๗๙๙๘ หน้าที่ ๓๔๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=7979&Z=7998&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=35              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=486              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [508-509] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=13&item=508&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=5890              The Pali Tipitaka in Roman :- [508-509] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=13&item=508&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=5890              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i486-e1.php# https://suttacentral.net/mn85/en/sujato https://suttacentral.net/mn85/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :