ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
อิสสัตถสูตรที่ ๔
[๔๐๕] สาวัตถีนิทาน ฯ พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทาน บุคคลพึงให้ในที่ไหนหนอแล ฯ พ. ดูกรมหาบพิตร จิตย่อมเลื่อมใสในที่ใด พึงให้ในที่นั้นแล ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ และทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก ฯ [๔๐๖] พ. ดูกรมหาบพิตร ทานพึงให้ในที่ไหนนั่นเป็นข้อหนึ่ง และทาน ที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก นั่นเป็นอีกข้อหนึ่ง ดูกรมหาบพิตร ทานที่ให้แล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๙.

แก่ผู้มีศีลแลมีผลมาก ทานที่ให้แล้วในผู้ทุศีลหามีผลมากไม่ ดูกรมหาบพิตร และ ด้วยเหตุนั้น อาตมภาพจักย้อนถามมหาบพิตรในปัญหากรรมข้อนั้นบ้าง มหาบพิตร พอพระทัยอย่างใด พึงพยากรณ์อย่างนั้น ฯ [๔๐๗] มหาบพิตรจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ณ ที่นี้การยุทธพึง ปรากฏเฉพาะหน้าแด่พระองค์ สงครามพึงปะทะกัน ถ้าว่ากุมารที่เป็นกษัตริย์ผู้ไม่ ได้ศึกษา ไม่ได้หัดมือ ไม่ได้รับความชำนาญ ไม่ได้ประลองการยิง เป็นคน ขลาด เป็นคนมักสั่น เป็นคนมักสะดุ้ง เป็นคนมักวิ่งหนี พึงมาอาสาไซร้ พระองค์ พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และพระองค์พึงทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงบุรุษเช่นนั้น และ ข้าพระองค์ไม่ต้องการบุรุษเช่นนั้นเลย ฯ พ. ถ้าว่า กุมารที่เป็นพราหมณ์ ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ ถ้าว่ากุมารที่เป็นแพศย์ ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ ถ้าว่ากุมารที่เป็น ศูทร ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และพระองค์พึงทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และข้า- *พระองค์ไม่พึงต้องการบุรุษเช่นนั้นแล ฯ [๔๐๘] พ. ดูกรมหาบพิตร พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ณ ที่นี้การยุทธพึงปรากฏแก่พระองค์ สงครามพึงปะทะกัน ถ้าว่า กุมารที่เป็นกษัตริย์ ผู้ศึกษาดีแล้ว ได้หัดมือแล้ว ได้รับความชำนาญแล้ว ได้ประลองการยิงมาแล้ว ไม่เป็นคนขลาด ไม่เป็นคนสั่น ไม่เป็นคนสะดุ้ง ไม่เป็นคนมักวิ่งหนี พึงมา อาสาไซร้ พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และพระองค์พึงทรงมีพระประสงค์ บุรุษเช่นนั้นหรือ ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และหม่อมฉัน พึงต้องการบุรุษเช่นนั้น ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๐.

พ. ถ้าว่ากุมารที่เป็นพราหมณ์ ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ ถ้าว่า กุมารที่เป็นแพศย์ ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ ถ้าว่า กุมาร ที่เป็นศูทร ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ พระองค์จะพึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษ นั้นหรือ และพระองค์จะพึงทรงมีพระประสงค์บุรุษเช่นนั้นหรือ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และหม่อมฉัน พึงต้องการบุรุษเช่นนั้น ฯ [๔๐๙] พ. ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร แม้หากว่า กุลบุตรออกจากเรือน ตระกูลไรๆ เป็นผู้บวชหาเรือนมิได้ และกุลบุตรนั้น เป็นผู้มีองค์ ๕ อันละได้ แล้ว เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรนั้น ย่อมเป็นทาน มีผลมาก องค์ ๕ อันกุลบุตรนั้นละได้แล้วเป็นไฉน กามฉันทะอันกุลบุตรนั้นละ ได้แล้ว พยาบาทอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว ถีนมิทธะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว อุทธัจจกุกกุจจะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว วิจิกิจฉาอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว องค์ ๕ เหล่านี้อันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นไฉน กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ เป็นผู้ประกอบ แล้วด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญาขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ กุลบุตรนั้น เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรผู้มีองค์ ๕ อันละ ได้แล้ว ผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ ดังนี้ ย่อมมีผลมาก ฯ [๔๑๐] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ศิลปะการยิงแม่น กำลังเข้มแข็ง และความกล้าหาญมีอยู่ ในชายหนุ่มผู้ใด พระราชาผู้ทรงพระประสงค์ด้วยการยุทธ พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มเช่นนั้น ไม่พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่ม ผู้ไม่กล้าหาญ เพราะเหตุแห่งชาติ ฉันใด ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๑.

ธรรมะคือขันติ และโสรัจจะ ตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด บุคคล พึงบูชาบุคคลนั้นผู้มีปัญญา มีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ แม้มีชาติทราม ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ พึงสร้างอาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์ ยังผู้พหูสูตทั้งหลายให้สำนัก อยู่ ณ ที่นั้น พึงสร้างบ่อน้ำไว้ในป่าที่กันดารน้ำ และสะพาน ในที่เป็นหล่ม พึงถวาย ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และ เสนาสนะในท่านผู้ซื่อตรงทั้งหลาย ด้วยน้ำใจอันผ่องใส เมฆมีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ (เมฆอันประกอบด้วยถ่องแถว แห่งสายฟ้า) มียอดตั้งร้อยกระหึ่มอยู่ ยังแผ่นดินให้โชกชุ่มอยู่ ย่อมยังที่ดอนและที่ลุ่มให้เต็ม แม้ฉันใด ฯ ทายกผู้มีศรัทธา เป็นบัณฑิตได้ฟังแล้ว ย่อมจัดหาโภชนา- หารมาเลี้ยงวณิพก ด้วยข้าวน้ำให้อิ่มหนำ บันเทิงใจ เที่ยวไป ในโรงทาน สั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้ ดังนี้ และทายกนั้นบันลือเสียงเหมือนเสียงกระหึ่มแห่งเมฆ เมื่อฝนกำลังตก ฉะนั้น ธารแห่งบุญอันไพบูลย์นั้น ย่อมยัง ทายกผู้ให้ ให้ชุ่มชื่น ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๓๑๔๖-๓๒๑๘ หน้าที่ ๑๓๘-๑๔๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=3146&Z=3218&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=135              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=405              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [405-410] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=405&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4085              The Pali Tipitaka in Roman :- [405-410] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=405&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4085              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i393-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn03/sn03.024.than.html https://suttacentral.net/sn3.24/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :