ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
เวปจิตติสูตรที่ ๔
[๘๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ฯลฯ [๘๖๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสกะพวกอสูรว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึง ปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงมัดท้าวสักกะจอมเทวดา ด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอ เป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ท้าว สักกะจอมเทวดาก็บัญชากะเทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรถึง ปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงมัดท้าวเวปจิตติจอมอสูร ด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอ เป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังสุธรรมาสภา ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ในสงครามครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรปราชัย ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้จับท้าวเวปจิตติจอมอสูรมัดด้วยการมัดห้าแห่ง อันมีคอเป็นที่ ๕ แล้วนำมายัง สุธรรมาสภา ในสำนักของท้าวสักกะจอมเทวดา ฯ [๘๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ทราบว่า ในครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอม อสูรถูกมัดด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอเป็นที่ ๕ ได้ด่าบริภาษท้าวสักกะจอมเทวดา ซึ่งกำลังเสด็จเข้าและออกยังสุธรรมาสภา ด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของ สัตบุรุษ ฯ [๘๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีเทพบุตร ผู้สงเคราะห์ได้ ทูลถามท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยคาถาว่า ข้าแต่ท้าวสักกะมัฆวาน พระองค์ได้ทรงสดับถ้อยคำอัน หยาบคาย เฉพาะหน้า ของท้าวเวปจิตติจอมอสูร ยังทรง อดทนได้ เพราะความกลัว หรือเพราะไม่มีกำลัง พระเจ้าข้า ฯ [๘๗๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า เราอดทนถ้อยคำอันหยาบคายของท้าวเวปจิตติได้ เพราะ ความกลัวหรือเพราะไม่มีกำลัง ก็หาไม่ วิญญูชนผู้เช่นเรา ไฉนจะพึงโต้ตอบกับคนพาลเล่า ฯ [๘๗๒] มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า คนพาลพึงทำลายได้อย่างยิ่ง ถ้าไม่พึงเกียดกันเสียก่อน เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงเกียดกันคนพาลด้วยอาชญาอย่าง รุนแรง ฯ [๘๗๓] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบระงับได้ เราเห็นว่า การสงบระงับได้ของผู้นั้นแล เป็นการเกียดกันคนพาลละ ฯ [๘๗๔] มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท้าววาสวะ ข้าพระองค์เห็นโทษในความอดทนนี้แล เมื่อใด คนพาลย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า ผู้นี้ย่อมอดกลั้น ต่อเราเพราะความกลัว เมื่อนั้น คนมีปัญญาทรามยิ่งข่มขี่ผู้นั้น เหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัวที่แพ้หนีไป ฉะนั้น ฯ [๘๗๕] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะความกลัวหรือ หาไม่ก็ตามที ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็น อย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใดแลเป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อคนผู้ทุรพลไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิต ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คนทุรพลจำต้องอดทนอยู่ เป็นนิตย์ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวกำลังของผู้ซึ่งมีกำลังอย่าง คนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าวโต้ต่อผู้มีกำลังผู้ซึ่ง ธรรมคุ้มครองแล้วได้เลย เพราะความโกรธนั้น โทษที่ลามก จึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่ โกรธ ย่อมชื่อว่าชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติ ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนที่ ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้รักษาประโยชน์ของ ทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและของคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้ ฯ [๘๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น เข้าไป อาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็น อิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ยังจักพรรณนาคุณของขันติและโสรัจจะได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พวกเธอบวชแล้วในธรรมวินัยที่เรากล่าวชอบแล้ว เช่นนี้ เป็นผู้อดทนและสงบเสงี่ยมนี้ จะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๗๑๑๓-๗๑๗๓ หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=7113&Z=7173&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=250              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=867              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [867-876] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=867&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=8388              The Pali Tipitaka in Roman :- [867-876] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=867&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=8388              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i847-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn11/sn11.004.olen.html https://suttacentral.net/sn11.4/en/sujato https://suttacentral.net/sn11.4/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :