ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๗. โสณสูตรที่ ๑
ว่าด้วยขันธ์ ๕ มิใช่ของเรา
[๙๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้ พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้นแล คฤหบดีบุตรชื่อโสณะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ ตรัสกะคฤหบดีบุตรชื่อโสณะว่า ดูกรโสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมพิจารณา เห็นว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา พิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้เสมอเขา หรือพิจารณาเห็นว่า เรา เป็นผู้เลวกว่าเขา ด้วยรูปอันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่เป็นดังนี้มิใช่ อื่นไกล นอกจากการไม่เห็นธรรม ตามความเป็นจริง. ย่อมพิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้ประเสริฐ กว่าเขา พิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้เสมอเขา หรือพิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้เลวกว่าเขา ด้วย เวทนาอันไม่เที่ยง ... ด้วยสัญญาอันไม่เที่ยง ... ด้วยสังขารอันไม่เที่ยง ... ด้วยวิญญาณอันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่เป็นดังนี้มิใช่อื่นไกล นอกจากการไม่เห็นธรรม ตาม ความเป็นจริง. [๙๘] ดูกรโสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่พิจารณาเห็นว่า เรา เป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ไม่พิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้เสมอเขา หรือไม่พิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้ เลวกว่าเขา ด้วยรูปอันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่เป็นดังนี้มิใช่อื่นไกล นอกจากการเห็นธรรม ตามความเป็นจริง. ย่อมไม่พิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ไม่ พิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้เสมอเขา หรือไม่พิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้เลวกว่าเขา ด้วยเวทนาอัน ไม่เที่ยง ... ด้วยสัญญาอันไม่เที่ยง ... ด้วยสังขารอันไม่เที่ยง ... ด้วยวิญญาณอันไม่เที่ยง ... ด้วยสังขาร อันไม่เที่ยง ... ด้วยวิญญาณอันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่เป็นดังนี้มิใช่ อื่นไกล นอกจากการเห็นธรรม ตามความเป็นจริง. [๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรโสณะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? คฤหบดีบุตรชื่อโสณะทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า. พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ส. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า. พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะ พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา? ส. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า. พ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ส. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ส. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ส. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ส. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ส. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า. พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะ พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา? ส. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า. [๑๐๐] ดูกรโสณะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ รูปทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา. ดูกรโสณะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. ย่อม ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๗.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๑๐๘๓-๑๑๓๘ หน้าที่ ๔๘-๕๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1083&Z=1138&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=49              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=97              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [97-100] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=17&item=97&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6554              The Pali Tipitaka in Roman :- [97-100] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=17&item=97&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6554              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i087-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.049.wlsh.html https://suttacentral.net/sn22.49/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.49/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :