ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
             [๓๔๒] ดูกรภิกษุ เหมือนอย่างว่า เมืองชายแดนของพระราชาเป็น
เมืองที่มั่นคง มีกำแพงและเชิงเทิน มีประตู ๖ ประตู นายประตูเมืองนั้นเป็น
คนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่ตน
รู้จักเข้าไปในเมืองนั้น ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน มาแต่ทิศบูรพา พึงถามนาย
ประตูนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นตอบว่า แน่ะ
ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่
นั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปตามทางที่มา
แล้ว ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศปัศจิม... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมา
แต่ทิศอุดร... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศทักษิณ แล้วถามนายประตูนั้น
อย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นพึงตอบว่า แน่ะ
ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่
หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปทางตาม
ที่มาแล้ว ดูกรภิกษุ อุปมานี้แล เรากระทำแล้วเพื่อจะให้เนื้อความแจ่มแจ้ง ก็ใน
อุปมานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ คำว่าเมือง เป็นชื่อของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหา-
*ภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาและบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มี
อันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์ มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา
คำว่าประตู ๖ ประตู เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ คำว่านายประตูเป็นชื่อของสติ
คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา คำว่าเจ้าเมือง
เป็นชื่อของวิญญาณ คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง เป็น
ชื่อของนิพพาน คำว่าทางตามที่มาแล้ว เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ
จบสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๕๒๕๒-๕๒๗๔ หน้าที่ ๒๒๖-๒๒๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=5252&Z=5274&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=191              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=339              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [342] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=342&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=2508              The Pali Tipitaka in Roman :- [342] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=342&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=2508              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i309-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.204.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.204.wlsh.html https://suttacentral.net/sn35.245/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.245/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :