ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ชัมพุขาทกสังยุตต์
[๔๙๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้านนาลคาม ในแคว้นมคธ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าชัมพุขาทกะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า นิพพานๆ ดังนี้ นิพพานเป็นไฉนหนอ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำ นิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำ นิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ตั้งสติชอบ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำนิพพาน ให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๔๙๘] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อรหัตๆ ดังนี้ อรหัตเป็นไฉน ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ ธรรมเป็นที่สิ้นโทสะ ธรรม เป็นที่สิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอรหัต ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำ อรหัตนั้นให้แจ้ง ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำ อรหัตนั้นให้แจ้ง ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำอรหัตนั้นให้แจ้ง ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำอรหัตนั้น ให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๔๙๙] ดูกรท่านสารีบุตร ใครหนอเป็นธรรมวาทีในโลก ใครเป็นผู้ ปฏิบัติดีในโลก ใครเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ ท่านผู้ใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ท่านผู้นั้นเป็นธรรมวาทีในโลก อนึ่ง ท่านผู้ใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ท่านผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก ราคะ โทสะ โมหะ อันท่านผู้ใดละแล้ว ถอน รากเสียแล้วทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็น ธรรมดา ท่านผู้นั้นเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น ฯ สา. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่น- *ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๐] ดูกรท่านสารีบุตร ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณะ โคดม เพื่อประโยชน์อะไร ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อ กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนด รู้ทุกข์นั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้ ทุกข์นั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๑] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ถึงความโล่งใจๆ ดังนี้ ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอแล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ เมื่อไรภิกษุย่อมรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียง เท่านี้แล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำ ความโล่งใจนั้นให้แจ้ง ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำ ความโล่งใจนั้นให้แจ้ง ฯ สา. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่น ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำความโล่งใจนั้นให้แจ้ง ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำความโล่งใจ นั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๒] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ถึงความโล่งใจอย่างยิ่งๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ เมื่อไรภิกษุรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำ ความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำ ความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำความโล่งใจอย่างยิ่ง นั้นให้แจ้ง ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำความโล่งใจ อย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๓] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า เวทนาๆ ดังนี้ เวทนา เป็นไฉนหนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ เวทนา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เวทนา ๓ อย่าง นี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนด รู้เวทนา ๓ อย่างนั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนด รู้เวทนา ๓ อย่างนั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ อย่างนั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ อย่างนั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๔] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อาสวะๆ ดังนี้ อาสวะเป็นไฉน หนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อาสวะ ๓ อย่างนี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชา- *สวะ อาสวะ ๓ อย่างนี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอาสวะ เหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละอาสวะ เหล่านั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอาสวะเหล่านั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอาสวะเหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๕] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้ อวิชชาเป็น ไฉนหนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความ ดับทุกข์ ในปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอวิชชา เหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละอวิชชา เหล่านั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอวิชชาเหล่านั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอวิชชา เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๖] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ตัณหาๆ ดังนี้ ตัณหาเป็นไฉน หนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ ตัณหา ๓ ประการนี้ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา ๓ ประการนี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละตัณหา เหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละตัณหา เหล่านั้น ฯ สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละตัณหาเหล่านั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละตัณหาเหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๗] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า โอฆะๆ ดังนี้ โอฆะเป็นไฉน หนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ โอฆะ ๔ ประการนี้ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ โอฆะ ๔ ประการนี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละโอฆะ เหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละโอฆะ เหล่านั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละโอฆะเหล่านั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละโอฆะเหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๘] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อุปาทานๆ ดังนี้ อุปาทานเป็น ไฉนหนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อุปาทาน ๔ ประการนี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน อุปาทาน ๔ ประการนี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอุปาทาน เหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละ อุปาทานเหล่านั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๙] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ภพๆ ดังนี้ ภพเป็นไฉนหนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ ภพ ๓ เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพ ๓ เหล่านี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนด รู้ภพเหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนด รู้ภพเหล่านั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่า นั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๑๐] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ทุกข์ๆ ดังนี้ ทุกข์เป็นไฉน หนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ สภาพทุกข์ ๓ ประการนี้ คือ สภาพทุกข์คือทุกข์ สภาพทุกข์คือสังขาร สภาพทุกข์คือความแปรปรวน สภาพทุกข์ ๓ ประการนี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนดรู้ สภาพทุกข์เหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้ สภาพทุกข์เหล่านั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้สภาพทุกข์เหล่า นั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้สภาพ ทุกข์เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๑๑] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า สักกายะๆ ดังนี้ สักกายะเป็น ไฉนหนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ คือ อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าสักกายะ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนดรู้ สักกายะนั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้ สักกายะนั้น ฯ สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้สักกายะ นั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๑๒] ดูกรท่านสารีบุตร อะไรหนอ เป็นการยากที่จะกระทำได้ใน ธรรมวินัยนี้ ฯ สา. บรรพชา ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไรอันบุคคลผู้บวชแล้ว กระทำได้โดย ยาก ฯ สา. ความยินดียิ่ง ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไร อันภิกษุผู้ยินดียิ่งแล้วกระทำได้โดย ยาก ฯ สา. การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้มีอายุ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว จะพึงเป็น พระอรหันต์ได้นานเพียงไร ฯ สา. ไม่นานนัก ผู้มีอายุ ฯ
จบชัมพุขาทกสังยุตต์
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นิพพานสูตร ๒. อรหัตตสูตร ๓. ธรรมวาทีสูตร ๔. กิมัตถิย- *สูตร ๕. อัสสาสสูตร ๖. ปรมัสสาสสูตร ๗. เวทนาสูตร ๘. อาสวสูตร ๙. อวิชชาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร ๑๑. โอฆสูตร ๑๒. อุปาทานสูตร ๑๓. ภวสูตร ๑๔. ทุกขสูตร ๑๕. สักกายสูตร ๑๖. ทุกกรสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๕๙๑-๖๘๑๕ หน้าที่ ๒๘๗-๒๙๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=6591&Z=6815&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=254              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=497              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [497-512] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=497&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3262              The Pali Tipitaka in Roman :- [497-512] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=497&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3262              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i497-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn38/sn38.014.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn38-003.html https://suttacentral.net/sn38.1/sujato https://suttacentral.net/sn38.2/sujato https://suttacentral.net/sn38.3/sujato https://suttacentral.net/sn38.4/sujato https://suttacentral.net/sn38.5/sujato https://suttacentral.net/sn38.6/sujato https://suttacentral.net/sn38.7/sujato https://suttacentral.net/sn38.8/sujato https://suttacentral.net/sn38.9/sujato https://suttacentral.net/sn38.10/sujato https://suttacentral.net/sn38.11/sujato https://suttacentral.net/sn38.12/sujato https://suttacentral.net/sn38.13/sujato https://suttacentral.net/sn38.14/sujato https://suttacentral.net/sn38.15/sujato https://suttacentral.net/sn38.16/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :