ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
โคทัตตสูตร
[๕๗๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระโคทัตตะอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิ กาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระโคทัตตะถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระโคทัตตะได้ถามจิตตคฤหบดีว่า ดูกร คฤหบดี ธรรมเหล่านี้ คือ อัปปมาณาเจโตวิมุติ อากิญจัญญาเจโตวิมุติ สูญญตาเจโตวิมุติ และอนิมิตตาเจโตวิมุติ มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น จิตตคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็นธรรมมีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน มีอยู่ และปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็น ธรรมมีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น มีอยู่ ฯ [๕๗๒] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็นธรรมมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศ ที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา...ประกอบด้วยมุทิตา...ประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศ หนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ อันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เรียกว่า อัปปมาณาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๓] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็อากิญจัญญาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มีดังนี้อยู่ นี้เรียกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๔] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สูญญตาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่โคนต้นไม้ก็ตาม อยู่ในเรือนว่างเปล่า ก็ตาม ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นี้ว่างเปล่าจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องในตน นี้ เรียกว่า สูญญตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๕] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็อนิมิตตาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าถึงอนิมิตตาเจโตสมาธิเพราะไม่มนสิการถึง นิมิตทั้งปวงอยู่ นี้เรียกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุติ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้คือปริยายที่เป็น เหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน ฯ [๕๗๖] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากิเลสกระทำประมาณ กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา อัปปมาณาเจโตวิมุติมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ นั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่อง กังวล กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา อากิญจัญญา- *เจโตวิมุติมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่องกระทำนิมิต (เครื่อง หมาย) กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา อนิมิตตาเจโต วิมุติมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าอนิมิตตา เจโตวิมุติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปริยายนี้เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถเป็นอันเดียว กัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ท่านพระโคทัตตะกล่าวว่า ดูกรคฤหบดี การที่ ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๗๕๒๕-๗๕๗๘ หน้าที่ ๓๒๖-๓๒๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=7525&Z=7578&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=263              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=571              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [571-576] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=571&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3487              The Pali Tipitaka in Roman :- [571-576] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=571&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3487              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i537-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn41/sn41.007.than.html https://suttacentral.net/sn41.7/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :