ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๓๐๖.

โสเจยยสูตรที่ ๑
[๕๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ กายโสเจยย ความสะอาดกาย ๑ วจีโสเจยย ความสะอาดวาจา ๑ มโน- *โสเจยย ความสะอาดใจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายโสเจยยเป็นไฉน บุคคล- *บางคนในโลกนี้ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจาก การประพฤติผิดในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากายโสเจยย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย วจีโสเจยยเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่า วจีโสเจยย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มโนโสเจยยเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยความอยากได้ มีจิตไม่พยาบาท เป็น สัมมาทิฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า มโนโสเจยย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ สะอาด ๓ อย่างนี้แล ฯ
โสเจยยสูตรที่ ๒
[๕๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ กายโสเจยย ๑ วจีโสเจยย ๑ มโนโสเจยย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กาย โสเจยยเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ ลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กายโสเจยย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วจีโสเจยยเป็นไฉน ภิกษุในธรรม- *วินัยนี้ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า วจีโสเจยย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มโนโสเจยยเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กามฉันทะมีในภายในก็รู้ว่า กาม- *ฉันทะของเรามีในภายใน หรือกามฉันทะไม่มีในภายในก็รู้ว่า กามฉันทะของเรา ไม่มีในภายใน ย่อมรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๗.

รู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุไม่ เกิดขึ้นได้ต่อไปแห่งกามฉันทะที่ละได้แล้ว พยาบาทมีในภายในก็รู้ว่า พยาบาท ของเรามีในภายใน หรือพยาบาทไม่มีในภายในก็รู้ว่า พยาบาทของเราไม่มีใน ภายใน ย่อมรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดอาการ เป็นเหตุละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่ง พยาบาทที่ละได้แล้ว ถีนมิทธะมีในภายในก็รู้ว่า ถีนมิทธะของเรามีในภายใน หรือถีนมิทธะไม่มีในภายในก็รู้ว่า ถีนมิทธะของเราไม่มีในภายใน ย่อมรู้ชัดซึ่ง อาการเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุละถีน- *มิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งถีนมิทธะที่ละ ได้แล้ว อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ในภายในก็รู้ว่า อุทธัจจกุกกุจจะของเรามีอยู่ใน ภายใน หรืออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ในภายในก็รู้ว่า อุทธัจจกุกกุจจะของเราไม่มี ในภายใน ย่อมรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุ ไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว วิจิกิจฉามีอยู่ในภายในก็รู้ว่า วิจิกิจฉาของเรามีอยู่ในภายใน หรือวิจิกิจฉาไม่มีในภายในก็รู้ว่า วิจิกิจฉาของเรา ไม่มีในภายใน ย่อมรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัด ซึ่งอาการเป็นเหตุละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุไม่เกิดขึ้น ต่อไปแห่งวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า มโนโสเจยย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ อย่างนี้แล ฯ ผู้ที่มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ เป็นผู้สะอาด ถึงพร้อมด้วยความสะอาด บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่า เป็นผู้ล้างบาปเสียแล้ว ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๗๑๔๒-๗๑๘๖ หน้าที่ ๓๐๖-๓๐๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7142&Z=7186&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=165              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=560              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [560-561] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=560&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6098              The Pali Tipitaka in Roman :- [560-561] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=560&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6098              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i553-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an3.120/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :