ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อิจฉาสูตร
[๑๗๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๘ จำพวกเป็นไฉน ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญ กรรมฐานให้ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอย่อม หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อให้ได้ลาภ ลาภไม่ เกิดขึ้น เธอย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล เพราะไม่ได้ลาภนั้น ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภอยู่ แต่ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก ร่ำไร และเคลื่อน จากพระสัทธรรม ฯ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้ติดต่อเนื่อง กันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอย่อมหมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ลาภเกิดขึ้น เธอย่อมมัวเมาถึงความประมาท เพราะลาภนั้น ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ หมั่น เพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ได้ลาภแล้ว มัวเมาประมาท และเคลื่อนจากพระ สัทธรรม ฯ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้ติดต่อเนื่อง กันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ลาภไม่เกิดขึ้น เธอย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ นี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก ร่ำไร และเคลื่อนจากพระสัทธรรม ฯ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้ติดต่อเนื่อง กันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ลาภเกิดขึ้น เธอย่อมมัวเมาถึงความ ประมาทเพราะลาภนั้น ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้ลาภ ได้ลาภแล้ว มัวเมาประมาท และเคลื่อนจาก พระสัทธรรม ฯ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้ติดต่อเนื่อง กันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ลาภไม่เกิดขึ้น เธอไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลเพราะไม่ได้ลาภนั้น ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ไม่ได้ลาภแล้ว ไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจากพระสัทธรรม ฯ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้ติดต่อเนื่อง กันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ลาภเกิดขึ้น เธอไม่มัวเมา ไม่ถึงความ ประมาทเพราะได้ลาภนั้น ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนา ลาภ หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ได้ลาภแล้ว ไม่มัวเมาประมาท และไม่ เคลื่อนจากพระสัทธรรม ฯ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้ติดต่อเนื่อง กันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ลาภไม่เกิดขึ้น เธอไม่เศร้าโศกไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลเพราะไม่ได้ลาภนั้น ดูกร อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ ลาภอยู่ ไม่ได้ลาภแล้ว ไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจากพระสัทธรรม ฯ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้ติดต่อ เนื่องกัน ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ลาภเกิดขึ้น เธอไม่มัวเมา ไม่ถึงความ ประมาทเพราะได้ลาภนั้น ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนา ลาภ ไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ได้ลาภแล้ว ไม่มัวเมาประมาท และไม่ เคลื่อนจากพระสัทธรรม ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล มีปรากฏ อยู่ในโลกนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๗
ลัจฉาสูตรที่ ๑
[๑๗๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ดูกร อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเข้าใจเร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ เป็นผู้มีวาจางามกล่าวถ้อยคำ ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวยไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้งแล้ว ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูกร อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๘
ลัจฉาสูตรที่ ๒
[๑๗๖] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีความเข้าใจได้เร็ว ในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่ง ธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ เป็นผู้ มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๙
ลัจฉาสูตรที่ ๓
[๑๗๗] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็น ผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็นผู้มีวาจางามกล่าวถ้อยคำ ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ หาชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงไม่ ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ ผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
ลัจฉาสูตรที่ ๔
[๑๗๘] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเข้าใจเร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำไว้ หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจางามกล่าวถ้อยคำ ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูกร อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ตน ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
ลัจฉาสูตรที่ ๕
[๑๗๙] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ทรง จำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำไว้แล้ว ๑ รู้อรรถ รู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ และ หาชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงไม่ ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ ผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
ลัจฉาสูตรที่ ๖
[๑๘๐] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถใน อันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำไว้แล้ว หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจางามกล่าวถ้อยคำ ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ตน ฯ
จบสูตรที่ ๑๓
ลัจฉาสูตรที่ ๗
[๑๘๑] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถ รู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ไม่เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ไม่ชี้แจง สพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๑๔
ลัจฉาสูตรที่ ๘
[๑๘๒] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำไว้แล้ว หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำ ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ตน ฯ
จบสูตรที่ ๑๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๖๘๘๘-๗๐๔๒ หน้าที่ ๒๙๘-๓๐๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=6888&Z=7042&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=150              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=174              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [174-182] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=174&items=9              The Pali Tipitaka in Roman :- [174-182] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=23&item=174&items=9              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i168-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an8.77/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :