ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
คาวีสูตร
[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่โคเที่ยวไปตามภูเขา เป็นโคโง่ ไม่ ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะไปเที่ยวบนเขาอันขรุขระ แม่โคนั้นพึง คิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม แม่โคนั้นยันเท้าหน้าก็ไม่ดีเสียแล้ว พึงยกเท้าหลัง อีก ก็คงจะไปยังทิศที่ไม่เคยไปไม่ได้ กินหญ้าที่ยังไม่เคยกินไม่ได้ และดื่มน้ำที่ ยังไม่เคยดื่มไม่ได้ แม่โคนั้นยืนอยู่ในที่ใดพึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยัง ทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม มันกลับ มายังที่นั้นอีกโดยสวัสดีไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเที่ยวไปบน ภูเขา เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอัน ขรุขระ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย นี้เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขต ไม่เข้าใจเพื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอไม่เสพ โดยมาก ไม่เจริญ ไม่กระทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ไม่อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มี ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอไม่อาจเพื่อบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เธอย่อมมีความ คิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุปฐมฌาน มี วิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอย่อมไม่อาจเพื่อสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า มีชื่อเสียงปรากฏ พลาด เสื่อมจากผลทั้งสอง ๒ แล้ว เปรียบเหมือนแม่โคเที่ยวไปบนภูเขา เป็น โคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคฉลาดเฉียบแหลม รู้จักเขตที่หากิน เข้าใจที่เที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ แม่โคนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่ม น้ำที่ไม่ดื่ม แม่โคนั้นยันเท้าหน้าไว้ดีแล้ว พึงยกเท้าหลัง แม่โคนั้นพึงไปยังทิศที่ ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่ม เมื่อยืนอยู่ในที่ใด พึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน พึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม และพึงกลับมายังที่นั้นโดยสวัสดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคเที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขตที่หากิน เข้าใจ ที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาด รู้จักเขต เข้าใจที่จะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ... เสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา พึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มี วิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอยัง ไม่ยินดีเพียงทุติยฌานที่ได้บรรลุ ฯลฯ เธอเสพโดยมากซึ่งนิมิตนั้น เจริญ กระ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดดังนี้ว่าผิฉะนั้น เราพึงมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ ตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็น สุข เธอยังไม่ยินดีเพียงตติยฌานที่ได้บรรลุ ฯลฯ เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำ ให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอยังไม่ยินดีเพียง จตุตถฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะ ล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอยังไม่ยินดีเพียงอากาสานัญจายตนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอ เสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่น ด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เธอยังไม่ยินดีเพียงวิญญาณัญจายตนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอ เสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย ประการทั้งปวง พึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอไม่ยินดีเพียงอากิญจัญญายตนะที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดย มาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความ คิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พึง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เธอไม่ยินดีเพียงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่ได้ บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้น ให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงเนวสัญญา นาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เธอไม่ยินดี เพียงสัญญาเวทยิตนิโรธที่ได้บรรลุนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุเข้าก็ดี ออกก็ดี ซึ่งสมาบัตินั้นๆ ในกาลนั้น จิตของเธอเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน สมาธิอันหาประมาณมิได้ ย่อมเป็นอันเธอเจริญดีแล้วด้วยจิตอ่อน ควรแก่การงาน เธอมีสมาธิอันหา ประมาณมิได้ เจริญดีแล้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใดๆ ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยอภิญญา เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรม นั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ พึงใช้อำนาจทาง กายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงฟังเสียงสองอย่าง คือ เสียงทิพย์ เสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและใกล้ ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในเมื่อเหตุมี อยู่ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิต มีราคะก็พึงรู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากราคะ จิตมี มีโทสะก็พึงรู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็พึงรู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจาก โมหะ จิตหดหู่ก็พึงรู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็พึงรู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหรคตก็พึงรู้ว่า จิตเป็นมหรคตหรือจิตไม่เป็นมหรคตก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่า จิต ไม่มีจิตอื่นกว่า จิตเป็นสมาธิก็พึงรู้ว่า จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็พึงรู้ ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็พึงผู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็พึงรู้ ว่า จิตไม่หลุดพ้น เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ใน เมื่อเหตุมีอยู่ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึก ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ พึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้ง อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการดังนี้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานใน ธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ๆ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอย่อมถึง ความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ๆ ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๘๙๔๖-๙๐๔๐ หน้าที่ ๓๘๖-๓๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=8946&Z=9040&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=198              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=239              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [239] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=239&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6945              The Pali Tipitaka in Roman :- [239] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=23&item=239&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6945              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i236-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an09/an09.035.than.html https://suttacentral.net/an9.35/en/sujato https://suttacentral.net/an9.35/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :