ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๐. กาฬิโคธาภัททิยสูตร
[๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน ก็สมัยนั้นแล ท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชาเทวีพระนามว่า กาฬิโคธา อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี ได้เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ภิกษุเป็นอันมากได้ฟังท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธาอยู่ในป่า ก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นได้พากันปริวิตกว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านพระ- *ภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธา ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์โดย ไม่ต้องสงสัย ท่านอยู่ป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี คงหวนระลึกถึง ความสุขในราชสมบัติเมื่อเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน จึงได้เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราช- *เทวีกาฬิโคธา คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่ต้องสงสัย ท่านอยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี คงหวนระลึกถึงความสุขในราชสมบัติ เมื่อเป็น คฤหัสถ์ในกาลก่อน จึงได้เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ฯ [๖๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า ดูกรภิกษุ เธอจงไปเรียกภัททิยะภิกษุมาตามคำของเราว่า ภัททิยะผู้มีอายุ พระศาสดาตรัสสั่ง ให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาท่านพระภัททิยะพระโอรส ของพระราชเทวีกาฬิโคธา ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระภัททิยะพระโอรสของ พระราชเทวีกาฬิโคธาว่า ดูกรอาวุโสภัททิยะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธา รับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่าน พระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธาว่า ดูกรภัททิยะ ได้ยินว่า ท่านอยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ดังนี้จริงหรือ ท่านพระภัททิยะ ทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า พ. ดูกรภัททิยะ ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไรเล่า อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี จึงเปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ฯ ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน เสวยสุขในราชสมบัติอยู่ ได้มีการรักษาอันพวกราชบุรุษจัดแจงดีแล้ว ทั้งภายใน พระราชวัง ทั้งภายนอกพระราชวัง ทั้งภายในพระนคร ทั้งภายนอกพระนคร ทั้งภายในชนบท ทั้งภายนอกชนบท ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นแล เป็นผู้อันราชบุรุษรักษาแล้วคุ้มครองแล้วอย่างนี้ ยังเป็นผู้กลัว หวาดเสียว ระแวง สะดุ้งอยู่ แต่บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้เดียวอยู่ป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือน ว่างก็ดี ไม่กลัว ไม่หวาดเสียว ไม่ระแวง ไม่สะดุ้ง มีความขวนขวายน้อย มีขนตก เป็นไปอยู่ด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจเนื้ออยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์นี้แล อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่าง ก็ดี จึงได้เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง- *อุทานนี้ในเวลานั้นว่า ความกำเริบ (ความโกรธ) ย่อมไม่มีภายในพระอริยบุคคล ผู้ก้าวล่วงความเจริญและความเสื่อมมีประการอย่างนั้น เทวดา ทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถเพื่อจะเห็นพระอริยบุคคลนั้น ผู้ปราศจากภัย มีความสุข ไม่มีความโศก ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมุจลินทวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มุจจลินทสูตร ๒. ราชสูตร ๓. ทัณฑสูตร ๔. สักการสูตร ๕. อุปาสกสูตร ๖. คัพภินีสูตร ๗. เอกปุตตสูตร ๘. สุปปวาสาสูตร ๙. วิสาขาสูตร ๑๐. กาฬิโคธาภัททิยสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๙๙๖-๒๐๔๙ หน้าที่ ๘๖-๘๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1996&Z=2049&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=55              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=64              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [64-65] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=64&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=3768              The Pali Tipitaka in Roman :- [64-65] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=64&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=3768              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.2.10.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.2.10.irel.html https://suttacentral.net/ud2.10/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud2.10/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :