ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๑๐. ปาราสริยเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระปาราสริยเถระ
[๓๙๔] พระปาราสริยเถระผู้เป็นสมณะ มีจิตแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียว ผู้สงบระงับ ชอบสงัด เจริญฌานอยู่ในป่าใหญ่ ฤดูดอกไม้ผลิ ได้มี ความคิดว่า ในเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นนาถะ ของโลกยังทรงพระชนมชีพอยู่ ความประพฤติของภิกษุทั้งหลายเป็น อย่างหนึ่ง เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานไปแล้ว เดี๋ยวนี้ปรากฏเป็น อย่างหนึ่ง คือภิกษุทั้งหลายแต่ปางก่อน เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมี ตามได้ นุ่งห่มผ้าเป็นปริมณฑล ก็เพียงเพื่อจะป้องกันความหนาวอัน เกิดแต่ลม และปกปิดความละอายเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายแต่ปางก่อน ขบฉันอาหารประณีตก็ตาม เศร้าหมองก็ตาม น้อยก็ตาม มากก็ตาม ก็เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น ไม่ติดไม่พัวพันเลย ภิกษุทั้งหลาย แต่ปางก่อน (แม้จะถูกความเจ็บไข้ครอบงำ) ไม่ขวนขวายหาเภสัช ปัจจัยอันเป็นบริการแก่ชีวิต เหมือนการขวนขวายในความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ท่านเหล่านั้นขวนขวายพอกพูนวิเวก มุ่งแต่เรื่องวิเวก อยู่ในป่า โคนไม้ ซอกเขาและถ้ำเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายแต่ปางก่อน เป็นผู้อ่อนน้อม มีศรัทธาตั้งมั่น เลี้ยงง่าย อ่อนโยน มีน้ำใจไม่ กระด้าง ไม่ปราศจากสติ ปากไม่ร้าย เปลี่ยนแปลงความคิดอันเป็น ประโยชน์ของตนแลผู้อื่น เพราะเหตุนั้น ภิกษุแต่ปางก่อน เป็นผู้มีข้อ ปฏิบัติในการก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับมาข้างหลัง การบริโภคปัจจัย การซ่องเสพโคจร และมีอิริยาบถ ละมุนละไม ก่อให้เกิดความเลื่อมใส เหมือนปากไม่ร้าย เปลี่ยนแปลงตามความคิดอันเป็นประโยชน์ของตน และผู้อื่น เพราะเหตุนั้น ภิกษุแต่ปางก่อน เป็นผู้มีข้อปฏิบัติในการ ก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับมาข้างหลัง การบริโภคปัจจัย การซ่องเสพ โคจร และมีอิริยาบถละมุนละไม ก่อให้เกิดความเลื่อมใส เหมือนสาย น้ำมันเหลวไหลออกจากปากภาชนะไม่ขาดสาย ฉะนั้น บัดนี้ ท่าน เหล่านั้น สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว มักเจริญฌานเป็นอันมาก ประกอบแล้ว ด้วยฌานใหญ่เป็นพระเถระผู้คงที่พากันนิพพานไปเสียหมดแล้ว บัดนี้ ท่านเช่นนั้นเหลืออยู่น้อยเต็มที เพราะความสิ้นไปแห่งกุศลธรรมและ ปัญญา คำสั่งสอนของพระชินสีห์ อันประกอบแล้วด้วยอาการอัน ประเสริฐทุกอย่าง จะสิ้นไปในเวลาที่ควรจะทำให้ธรรมทั้งหลายอันลามก และกิเลสทั้งหลายสงบไป ภิกษุเหล่าใดปรารภความเพียรเพื่อความ สงัด ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีพระสัทธรรมที่เหลือเป็นข้อปฏิบัติ กิเลสเหล่านั้นเจริญงอกงามขึ้น ย่อมครอบงำคนพาลเป็นอันมากไว้ใน อำนาจ ดังจะเล่นกับพวกคนพาล เหมือนปีศาจเข้าสิงคนทำให้เป็นบ้า เพ้อคลั่งอยู่ ฉะนั้น นรชนเหล่านั้นถูกกิเลสครอบงำ ท่องเที่ยวไปมา ในสงสารเพราะกิเลสนั้นๆ ยึดถือในสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นตัวตนเพราะกิเลส เป็นเหตุ พากันละทิ้งพระสัทธรรมเสียทำการทะเลาะซึ่งกันและกัน ยึด ถือตามความเห็นของตน สำคัญว่าสิ่งนี้เท่านั้นประเสริฐ นรชนทั้งหลายที่ ละทิ้งทรัพย์สมบัติ บุตรและภรรยา ออกบวชแล้วพากันทำกรรมที่ไม่ ควรทำ แม้เพราะเหตุแห่งภักษาหารเพียงทัพพีเดียว ภิกษุทั้งหลายฉัน ภัตตาหารเต็มอิ่มแล้ว ถึงเวลานอนก็นอนหงาย ตื่นแล้วก็กล่าวแต่ ถ้อยคำที่พระศาสดาทรงติเตียน ภิกษุผู้มีจิตไม่สงบในภายใน พากัน เรียนทำแต่ศิลปะที่ไม่ควรทำ มีการประดับร่มเป็นต้น ย่อมไม่หวัง ประโยชน์ในทางบำเพ็ญสมณธรรมเสียเลย ภิกษุทั้งหลายผู้มุ่งแต่สิ่งของ ดีๆ ให้มาก จึงนำเอาดินเหนียวบ้าง น้ำมันบ้าง จุรณเจิมบ้าง น้ำบ้าง ที่นั่งที่นอนบ้าง อาหารบ้าง ไม้สีฟันบ้าง ผลมะขวิดบ้าง ดอกไม้บ้าง ของควรเคี้ยวบ้าง บิณฑบาตบ้าง ผลมะม่วงบ้าง ผลมะขามป้อมบ้าง ไปให้แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายพากันประกอบเภสัชเหมือนพวก หมอรักษาโรค ทำกิจน้อยใหญ่อย่างคฤหัสถ์ตบแต่งร่างกายเหมือนหญิง แพศยา ประพฤติตนเหมือนกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ บริโภคอามิสด้วยอุบาย เป็นอันมาก คือทำให้คนหลงเชื่อ หลอกลวง เป็นพยานโกงตามโรง ศาลใช้เล่ห์เหลี่ยมต่างๆ อย่างนักเลง ภิกษุเหล่านั้น บริโภคอามิสด้วย การพูดเลียบเคียงเป็นอันมาก เที่ยวแส่หาปัจจัยโดยใช้อุบายต่างๆ ล่อ ลวงโดยปริยายเพียงเล็กน้อย รวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมากเพราะเหตุ แห่งอาชีพ ย่อมยังบริษัทให้บำเรอตนเพราะเหตุแห่งการงาน แต่มิให้ บำรุงโดยธรรม เที่ยวแสดงธรรมตามถิ่นต่างๆ เพราะเหตุแห่งลาภ มิใช่ เพราะมุ่งประโยชน์ ภิกษุเหล่านั้นทะเลาะวิวาทกันเพราะเหตุแห่งลาภ สงฆ์ เป็นผู้เหินห่างจากอริยสงฆ์ เลี้ยงชีวิตด้วยการอาศัยลาภของผู้อื่น ไม่มีหิริ ไม่ละอาย จริงอย่างนั้น ภิกษุบางพวก ไม่ประพฤติตาม สมณธรรมเสียเลย เป็นเพียงคนโล้น คลุมร่างไว้ด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ เท่านั้น ปรารถนาแต่การสรรเสริญถ่ายเดียว มุ่งหวังแต่ลาภและสักการะ เมื่อธรรมเป็นเครื่องทำลายมีประการต่างๆ เป็นไปอยู่อย่างนี้ การบรรลุ ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือการตามรักษาธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ไม่ใช่ทำได้ ง่าย เหมือนเมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ มุนีพึงตั้งสติเที่ยวไปใน บ้านเหมือนกับบุรุษผู้ไม่ได้สวมรองเท้า ตั้งสติเที่ยวไปในถิ่นที่มีหนาม ฉะนั้น พระโยคีเมื่อตามระลึกถึงวิปัสสนาที่ปรารภมาแล้วในกาลก่อน ไม่ทอดทิ้งวัตรสำหรับภาวนาวิธีเหล่านั้นเสีย ถึงเวลานี้จะเป็นเวลาสุดท้าย ภายหลัง แต่ก็พึงบรรลุอมตบทได้ พระปาราสริยเถระผู้เป็นสมณะมี อินทรีย์อันอบรมแล้ว เป็นพราหมณ์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีภพ ใหม่สิ้นไปแล้ว ครั้นกล่าววิธีปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ปรินิพพานใน สาลวัน.
-----------------------------------------------------
รวมพระเถระ
ในวีสตินิบาตนี้ พระเถระ ๑๐ รูปนี้ คือ พระอธิมุตตเถระ ๑ พระ ปาราสริยเถระ ๑ พระเตลุกานิเถระ ๑ พระรัฐบาลเถระ ๑ พระมาลุงกย ปุตตเถระ ๑ พระเสลเถระ ๑ พระภัททิยกาลิโคธาปุตตเถระ ๑ พระองคุ- ลิมาลเถระ ๑ พระอนุรุทธเถระ ๑ พระปารสริยเถระ ๑ ประกาศคาถาไว้ดี เรียบร้อยแล้ว รวมคาถาได้ ๒๔๕ พระคาถา.
จบ วีสตินิบาต.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๗๘๙๙-๗๙๗๙ หน้าที่ ๓๔๐-๓๔๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=7899&Z=7979&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=26&siri=394              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=394              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [394] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=26&item=394&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=8850              The Pali Tipitaka in Roman :- [394] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=26&item=394&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=8850              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thag16.10/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :