ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

หน้าที่ ๔๑๖.

๕. สัมภวชาดก
ว่าด้วยคนผู้รุ่งโรจน์ได้เพราะปัญญา
[๒๓๕๒] ดูกรท่านอาจารย์สุจีรตะ เราทั้งหลายได้ราชสมบัติ และความเป็นใหญ่ แล้ว ยังปรารถนาจะได้บุตรคนใหญ่ เพื่อครองแผ่นดินนี้ โดยธรรม ไม่ใช่โดยอธรรม อธรรมเราไม่พอใจ การประพฤติธรรมเป็นกิจของพระ- ราชาแท้. เราทั้งหลายจะไม่ถูกนินทาในโลกนี้ และในโลกหน้าด้วยเหตุใด และจะได้รับเกียรติยศ ในเทวดาและมนุษย์ด้วยเหตุใด. ขอท่านจง บอกเหตุนั้นๆ แก่เรา ดูกรท่านพราหมณ์ เราปรารถนาจะปฏิบัติตามอรรถ และธรรม เราถามท่านแล้วขอจงบอกอรรถ และธรรมนั้นด้วยเถิด? [๒๓๕๓] ข้าแต่พระราชา พระองค์ทรงปรารถนาจะทรงปฏิบัติตามอรรถและธรรมใด นอกจากวิธูรพราหมณ์แล้ว ไม่มีใครสมควรที่จะชี้แจงซึ่งอรรถและธรรม นั้นได้. [๒๓๕๔] ดูกรท่านอาจารย์สุจีรตะ มาเถิดท่าน เราจะส่งท่านไปยังสำนักของวิธูร- พราหมณ์ ท่านจงนำเอาทองคำแท่งนี้ไปมอบให้ เพื่อรับคำอธิบายอรรถ และธรรม. [๒๓๕๕] มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้ไปถึงสำนักของวิธูรพราหมณ์แล้ว เห็นท่านกำลังบริโภคอาหารอยู่ในเรือนของตน. [๒๓๕๖] พระเจ้าโกรัพยราชผู้เรืองพระยศ ทรงส่งเราให้เป็นทูตมา พระเจ้ายุธิฏฐิละ ได้ตรัสถามอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังกล่าวมา ท่านอาจารย์วิธูร ข้าพเจ้าถามท่านแล้ว ขอได้กรุณาบอกอรรถและธรรมนั้นด้วย. [๒๓๕๗] ดูกรพราหมณ์ เราคิดว่า จักกั้นแม่น้ำคงคา แต่ไม่อาจจะกั้นแม่น้ำใหญ่นั้น ได้ เพราะเหตุนั้น โอกาสนั้นจักมีได้อย่างไร? เมื่อท่านถามถึงอรรถและ ธรรม เราจึงไม่อาจจะบอกได้. แต่ภัทรการะผู้เป็นบุตรเกิดแต่อกของ เรามีอยู่ เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอดูเถิด พราหมณ์. [๒๓๕๘] มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้ไปถึงสำนักของภัทรการะ เห็นท่าน กำลังนั่งอยู่ในเรือนของตน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๗.

[๒๓๕๙] พระเจ้าโกรัพยาราชผู้เรืองพระยศ ทรงส่งเราเป็นทูตมาพระเจ้ายุธิฏฐิละได้ ตรัสถามอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังกล่าวมา ดูกรภัทรการมาณพ ขอได้กรุณาบอกอรรถและธรรมนั้นแก่เราด้วย. [๒๓๖๐] ข้าพเจ้าเป็นเหมือนคนทิ้งหาบเนื้อแล้ววิ่งตามเหี้ยไป ถึงจะถูกถามอรรถ และธรรมก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้ ข้าแต่ท่านพราหมณ์สุจีรตะ น้อง ชายของข้าพเจ้าชื่อว่าสญชัยมีอยู่ เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอ ดูเถิด. [๒๓๖๑] มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้ไปถึงยังสำนักของสญชัยกุมาร ได้เห็นสญชัยกุมารกำลังนั่งอยู่ในบริษัทของตน. [๒๓๖๒] พระเจ้าโกรัพยราชผู้เรืองพระยศ ทรงส่งเราเป็นทูตมา พระเจ้ายุธิฏฐิละ ได้ตรัสถามอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังกล่าวมา ดูกรสญชัยกุมาร ขอได้กรุณาบอกอรรถและธรรมนั้นแก่เราด้วย. [๒๓๖๓] ข้าแต่ท่านสุจีรตพราหมณ์ มัจจุราชย่อมกลืนกินข้าพเจ้าทั้งเช้าและเย็น ถึงข้าพเจ้าถูกถาม ก็ไม่อาจจะบอกอรรถและธรรมแก่ท่านได้. แต่ว่าน้อง ชายของข้าพเจ้าชื่อว่าสัมภวะมีอยู่ เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอ ดูเถิด. [๒๓๖๔] ดูกรท่านผู้เจริญ ธรรมนี้น่าอัศจรรย์จริงหนอย่อมไม่พอใจเรา ชนทั้ง ๓ คือ บิดาและบุตร ๒ คน ไม่มีปัญญารู้แจ้งธรรมนี้เลย. ถูกถามแล้ว ก็ไม่อาจ จะบอกอรรถและธรรมได้ เด็กถูกถามอรรถและธรรมแล้ว จะรู้ได้ อย่างไรหนอ? [๒๓๖๕] ดูกรท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอ เป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้. พระจันทร์ ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศย่อมสว่างไสวล่วงหมู่ดาวทั้งปวง ใน โลกนี้ด้วยรัศมี ฉันใด. สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็ก ก็ฉันนั้น ย่อม- ไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ท่านยังไม่ได้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๘.

ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมาร แล้วจะพึงรู้อรรถและธรรมได้. ดูกรท่านพราหมณ์ เดือนห้าในคิมหันตฤดู ย่อมสวยงามยิ่งกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้ ฉันใด. สัมภวกุมาร แม้ยังเป็นเด็ก ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบ ด้วยปัญญา ดูกรท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่ง เข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรม ได้ ดูกรท่านพราหมณ์ หิมวันตบรรพตชื่อว่าคันธมาทน์ ดารดาษไปด้วย ไม้ต่างๆ พรรณ เป็นที่อยู่อาศัยแห่งทวยเทพ ย่อมสง่างามและหอม ตลบไปทั่วทิศด้วยทิพยโอสถ ฉันใด. สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็ก ก็ฉัน นั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูกร ท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้. ไฟป่ามีเปลวรุ่งเรือง ไหม้ลามไปในป่า ไม่อิ่มมีแนวทางดำคุเรื่อยไปมีเปรียงเป็นอาหาร มีควัน เป็นธง ไหม้แนวไพรสูงๆ เวลากลางคืนสว่างลุกโชนอยู่บนยอดภูเขา ฉันใด. สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็ก ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิต ทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูกรท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถาม สัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะ พึงรู้อรรถและธรรมได้. ม้าดีจะรู้ได้เพราะฝีเท้า โคพลิพัทธ์จะรู้ได้เพราะ เข็นภาระไป แม่โคนมจะรู้ได้เพราะน้ำนมดี และบัณฑิตจะรู้ได้เมื่อเจรจา ฉันใด. สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิต ทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูกรท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถาม สัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอยังเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้. [๒๓๖๖] มหาพราหมณ์ภวรทวาชโคตรนั้น ได้ไปยังสำนักของสัมภวกุมาร เห็นเธอ กำลังเล่นอยู่นอกบ้าน จึงกล่าวว่า.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๙.

[๒๓๖๗] พระเจ้าโกรัพยราชผู้เรืองพระยศ ทรงส่งเราเป็นทูตมา พระเจ้ายุธิฏฐิละ ได้ตรัสถามอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังกล่าวมา ดูกรสัมภวกุมาร ท่านถูกถามแล้ว ขอจงบอกอรรถและธรรมนั้นเถิด. [๒๓๖๘] เชิญฟัง ข้าพเจ้าจักแก้ปัญหาแก่ท่านอย่างนักปราชญ์ พระราชาย่อมทรง ทราบอรรถและธรรมนั้นได้ แต่จักทรงทำตามหรือไม่ ไม่ทราบ? [๒๓๖๙] ข้าแต่ท่านสุจีรตพราหมณ์ บุคคลผู้ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว พึงทูลกิจที่ ควรทำในวันนี้ให้ทำในวันพรุ่งนี้ พระเจ้ายุธิฏฐิละอย่าได้ทรงทำตาม ใน เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น ข้าแต่ท่านสุจีรตะ เมื่อบุคคลถูกพระราชาตรัสถาม พึงกราบทูลธรรมภายในเท่านั้น ไม่พึงให้เสด็จไปยังหนทางผิด ดุจคน โง่ไม่มีความคิดฉะนั้น. กษัตริย์ไม่พึงทรงลืมพระองค์ ไม่พึงทรงประพฤติ อธรรม ไม่พึงทรงข้ามไปในที่มิใช่ท่า ไม่พึงทรงขวนขวายในสิ่งอันไม่ เป็นประโยชน์. กษัตริย์พระองค์ใด ทรงทราบว่าควรจะทำฐานะเหล่านี้ กษัตริย์พระองค์นั้นย่อมทรงพระเจริญทุกเมื่อ ดังพระจันทร์ในสุกรปักษ์ ฉะนั้น. ย่อมเป็นที่รักใคร่ของพระประยูรญาติทั้งหลายด้วย ย่อมทรง รุ่งโรจน์ในหมู่มิตรด้วย ท้าวเธอมีพระปรีชา เมื่อสวรรคตแล้ว ย่อมเข้า ถึงโลกสวรรค์.
จบ สัมภวชาดกที่ ๕.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๙๕๒๕-๙๖๑๗ หน้าที่ ๔๑๖-๔๑๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=9525&Z=9617&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=515              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2352              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [2352-2369] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=2352&items=18              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=41&A=5256              The Pali Tipitaka in Roman :- [2352-2369] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=27&item=2352&items=18              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=41&A=5256              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja515/en/francis

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :