ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๗๖๐] 	ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอดใน
                          ที่ไหนๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน และไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะ
                          ความอยากได้ลาภ.
             [๗๖๑] คำว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ความว่า การซื้อการขายเหล่าใด
อันพระผู้มีพระภาคตรัสห้ามไว้ในวินัย การซื้อการขายเหล่านั้นมิได้ทรงพระประสงค์เอาในอรรถนี้.
ภิกษุตั้งอยู่ในการซื้อการขายอย่างไร? ภิกษุทำความลวง หรือปรารถนาความเจริญ ย่อมแลกเปลี่ยน
บาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขารอื่นอะไรๆ ก็ดี กับสหธรรมิก ๕ จำพวก ภิกษุตั้งอยู่ในการซื้อการขาย
อย่างนี้.
             ภิกษุไม่ตั้งอยู่ในการซื้อขายอย่างไร? ภิกษุไม่ทำความลวง หรือไม่ปรารถนาความ
เจริญ ย่อมแลกเปลี่ยนบาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขารอื่นอะไรๆ ก็ดี กับสหธรรมิก ๕ จำพวก
ภิกษุไม่ตั้งอยู่ในการซื้อการขายอย่างนี้. คำว่า  ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ความว่า
ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ ไม่พึงดำรงอยู่ในการซื้อการขาย พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ
ไม่มี ซึ่งการซื้อการขาย พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออกไป สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง
กับการซื้อการขาย พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงตั้งอยู่
ในการซื้อการขาย.
ว่าด้วยกิเลส
[๗๖๒] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอดในที่ไหนๆ ความว่า กิเลส เป็นเครื่องทำความค่อนขอดเป็นไฉน? มีสมณพราหมณ์บางพวก ผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จัก จิตผู้อื่น สมณพราหมณ์พวกนั้น คนเห็นได้แต่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง รู้จักจิตด้วยจิต บ้าง. พวกเทวดาผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จักจิตผู้อื่น เทวดาพวกนั้น คนเห็นได้แต่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง รู้จักจิตด้วยจิตบ้าง สมณพราหมณ์และเทวดาเหล่านั้น ย่อมค่อนขอด ด้วยกิเลสหยาบบ้าง ด้วยกิเลสปานกลางบ้าง ด้วยกิเลสละเอียดบ้าง. กิเลสหยาบเป็นไฉน? กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เหล่านี้เรียกว่า กิเลสหยาบ. กิเลสปานกลางเป็นไฉน? กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เหล่านี้เรียกว่า กิเลสปานกลาง. กิเลสละเอียดเป็น ไฉน? ความวิตกถึงญาติ ความวิตกถึงชนบท ความวิตกถึงอมรเทพ ความวิตกอันปฏิสังยุต ด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น ความวิตกอันปฏิสังยุตด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ความวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น วิตกเหล่านี้ เรียกว่ากิเลสละเอียด. สมณพราหมณ์และเทวดาเหล่านั้น พึงค่อนขอดด้วยกิเลสหยาบบ้าง ด้วยกิเลสปาน กลางบ้าง ด้วยกิเลสละเอียดบ้าง. ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอด คือไม่ควรทำกิเลส ทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความค่อนขอด ไม่ควรยังกิเลสเหล่านั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้ บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสทั้งหลายอัน เป็นเครื่องทำความค่อนขอด พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออกไป สลัด พ้นขาด ไม่ เกี่ยวข้องด้วยกิเลสอันเป็นเครื่องทำความค่อนขอด พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ คำว่า ใน ที่ไหนๆ คือ ในที่ไหนๆ ในที่ทุกๆ แห่ง ภายในบ้าง ภายนอกบ้าง ทั้งภายในและภาย นอกบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอดในที่ไหนๆ. [๗๖๓] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้านดังต่อไปนี้ ภิกษุย่อมเกี่ยว ข้องในบ้านอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่เกี่ยวข้อง ร่วมยินดี ร่วมเศร้าโศก กับ พวกคฤหัสถ์ในบ้าน เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุขก็สุขด้วย มีทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อมีธุรกิจที่ต้องทำ เกิดขึ้น ก็ถึงความช่วยเหลือด้วยตน ภิกษุย่อมเกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง เวลาเช้า ภิกษุนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษา กาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่ตั้งสติมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอย่อมเกี่ยวข้องในที่นั้นๆ ย่อมรับในที่นั้นๆ ย่อมติดอยู่ในที่นั้นๆ ถึงความฉิบหายในที่นั้นๆ ภิกษุย่อมเกี่ยวข้องใน บ้านแม้อย่างนี้. ภิกษุย่อมไม่เกี่ยวข้องในบ้านอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่อยู่เกี่ยว ข้อง ไม่ร่วมยินดี ไม่ร่วมเศร้าโศก กับพวกคฤหัสถ์ในบ้าน เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุขก็ไม่สุข ด้วย มีทุกข์ก็ไม่ทุกข์ด้วย เมื่อมีธุรกิจที่ต้องทำเกิดขึ้น ก็ไม่ถึงความช่วยเหลือด้วยตน ภิกษุ ย่อมไม่เกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง เวลาเช้าภิกษุนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต ตั้งสติมั่น สำรวม อินทรีย์ ย่อมไม่เกี่ยวข้องในที่นั้นๆ ย่อมไม่รับในที่นั้นๆ ย่อมไม่ติดอยู่ในที่นั้นๆ ไม่ถึง ความฉิบหายในที่นั้นๆ ภิกษุย่อมไม่เกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้. คำว่า ไม่เกี่ยวข้องในบ้าน ความว่า ภิกษุไม่พึงเกี่ยวข้อง ไม่รับ ไม่ติด ไม่พัวพัน ในบ้าน ไม่พึงเป็นผู้กำหนัดยินดีหลงใหลติดใจในบ้าน พึงเป็นผู้หายกำหนัด ปราศจากกำหนัด สละกำหนัดเสียแล้ว ฯลฯ พึงเป็นผู้มีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงเกี่ยวข้อง ในบ้าน.
ว่าด้วยการพูดเลียบเคียง
[๗๖๔] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะความอยากได้ลาภ ดังต่อไปนี้ การพูดเลียบเคียงเป็นไฉน? การพูดหว่านล้อม การพูดเลียบเคียง การพูดเลียบ เคียงด้วยดี การพูดยกย่อง การพูดยกย่องด้วยดี การพูดผูกพัน การพูดผูกพันด้วยดี การพูดอวดอ้าง การพูดอวดอ้างด้วยดี การพูดฝากรัก ความเป็นผู้พูดมุ่งให้เขารักตน ความเป็นผู้พูดเหลวไหลดังว่า แกงถั่ว ความเป็นผู้พูดประจบ ความเป็นผู้พูดแคะไค้ (ดุจกินเนื้อหลังผู้อื่น) ความเป็นผู้พูด อ่อนหวาน ความเป็นผู้พูดไพเราะ ความเป็นผู้พูดด้วยไมตรี ความเป็นผู้พูดไม่หยาบคาย แก่ ชนเหล่าอื่น แห่งภิกษุผู้มั่นหมายลาภ สักการะและความสรรเสริญ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ เป็นผู้เห็นแก่อามิส หนักอยู่ในโลกธรรม กิริยานี้เรียกว่า การพูด เลียบเคียง. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเลียบเคียงกะชนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูด เลียบเคียงกะชน ๑ ยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชน ๑. ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกะชนอย่างไร? ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดกะชนอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายมี อุปการะมากแก่ฉัน ฉันได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะ อาศัยท่านทั้งหลาย แม้คนอื่นๆ ย่อมสำคัญเพื่อจะให้หรือเพื่อจะทำแก่ฉัน คนเหล่านั้น อาศัย ท่านทั้งหลาย เห็นแก่ท่านทั้งหลาย จึงให้ จึงทำแก่ฉัน แม้ชื่อเก่าเป็นของมารดาและบิดา ชื่อแม้นั้นของฉันหายลับไป ฉันย่อมปรากฏเพราะท่านทั้งหลายว่า เป็นกุลุปกะของอุบาสกโน้น เป็นกุลุปกะของอุบาสิกาโน้น ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกะชนอย่างนี้. ภิกษุยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนอย่างไร? ภิกษุยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนแม้อย่างนี้ว่า ฉันมีอุปการะมากแก่พวกท่าน พวกท่านอาศัยฉันจึงถึงพระ- *พุทธเจ้า เป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณานิบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากเหตุที่ เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ฉันย่อมบอกให้พระบาลี ย่อม บอกให้คำอธิบายพระบาลี ย่อมบอกอุโบสถ ย่อมอำนวยการก่อสร้าง แก่ท่านทั้งหลาย ก็แต่ ท่านทั้งหลายลืมฉันเสียแล้ว ย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาภิกษุเหล่าอื่น ภิกษุยกตนสูง ตั้งผู้ อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนแม้อย่างนี้. คำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชนเพราะความอยากได้ลาภ ความว่า ภิกษุเมื่อจะให้ลาภ สำเร็จ ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน คือพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งการ พูดเลียบเคียงกะชน เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องการ พูดเลียบเคียงเพราะเหตุแห่งลาภ เพราะการณะแห่งลาภ เพราะความบังเกิดขึ้นแห่งลาภ พึง เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะ ความอยากได้ลาภ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอด ในที่ไหนๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะ ความอยากได้ลาภ.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๘๗๑๘-๘๘๐๕ หน้าที่ ๓๖๖-๓๗๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=8718&Z=8805&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=14              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=699              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [760-764] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=29&item=760&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=8634              The Pali Tipitaka in Roman :- [760-764] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=29&item=760&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=8634              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :