ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๙๙] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบันแล้ว
กำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณอย่างไร ฯ
             พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและ
ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม
ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การ
กำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้
เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็น
สัมมสนญาณอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรย่อมกำหนดเวทนา ... สัญญา ... สังขาร
... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็
ตาม เป็นภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็น
สัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็นสัมมสน-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๑.

*ญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง ฯ [๑๐๐] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและ ปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าน่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้ เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อมแล้วกำหนดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้ เป็นสัมมสนญาณ ฯ [๑๐๑] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรม ๓ เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็นสัมมสนญาณ ฯ [๑๐๒] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา และมรณะ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาใน การย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ปัญญา ในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เมื่อภพไม่มี ชาติก็ไม่มี ฯลฯ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เมื่ออุปาทานไม่มี ภพก็ไม่มี เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่มี เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็ไม่มี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๒.

จึงมีเวทนา เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาก็ไม่มี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ไม่มี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะก็ไม่มี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี นามรูป เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปก็ไม่มี เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณก็ไม่มี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เมื่ออวิชชา ไม่มี สังขารก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีต- *กาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เมื่ออวิชชา ไม่มี สังขารก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันแล้วกำหนด เป็นสัมมสนญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๒๑๙-๑๒๖๖ หน้าที่ ๕๐-๕๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=1219&Z=1266&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=18              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=99              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [99-102] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=99&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=5895              The Pali Tipitaka in Roman :- [99-102] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=99&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=5895              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :