ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๑๗๗] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณอย่างไร
พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างไร ย่อมกำหนดกามาวจรธรรมเป็น
ฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล  เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่าย
กุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยา
กฤต ย่อมกำหนดโลกุตรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ฯ
             [๑๗๘] พระโยคาวจรย่อมกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย
อกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นฝ่ายกุศล
ย่อมกำหนดอกุศลธรรมบถ ๑๐ เป็นฝ่ายอกุศล ย่อมกำหนดรูป วิบากและกิริยา
เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย
อกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้ ฯ
             [๑๗๙] พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่าย
กุศล ย่อมกำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก เป็นฝ่ายอัพยากฤต
พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้ ฯ
             [๑๘๐] พระโยคาวจรย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรม เป็นฝ่ายกุศล เป็น
ฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ใน
โลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ของบุคคลผู้เกิดใน
พรหมโลก เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่าย
กุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้ ฯ
             [๑๘๑] พระโยคาวจรย่อมกำหนดโลกุตรธรรม เป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดอริยมรรค ๕ เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนด
สามัญญผล ๔ และนิพพาน เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนด
โลกุตรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้ ฯ
             [๑๘๒] ธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระโยคาว-
*จรมนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อม
เกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข
จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความ
เป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความ
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อ
มนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยความ
เป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ เมื่อมนสิการ
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความ
ไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิด
ปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้
ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
ธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น ๙ ประการนี้ ฯ
             [๑๘๓] ธรรมมีโยนิโสมนนิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระ
โยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปิติ เมื่อใจมีปิติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ
ย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ... เมื่อมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นอนัตตา
ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความ
เป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย
โดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมอันมีโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น ๙
ประการนี้ ฯ
             [๑๘๔] ความต่าง ๙ ประการ ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความต่างแห่ง
ธาตุเกิดขึ้น ความต่างแห่งเวทนาอาศัยความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้น ความต่างแห่ง
สัญญาอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น ความต่างแห่งความดำริอาศัยความต่างแห่ง
สัญญาเกิดขึ้น ความต่างแห่งฉันทะอาศัยความต่างแห่งความดำริเกิดขึ้น ความ
ต่างแห่งความเร่าร้อน อาศัยความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้น ความต่างแห่งการแสวงหา
อาศัยความต่างแห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น ความต่างแห่งการได้ (รูปเป็นต้น) อาศัย
ความต่างแห่งการแสวงหาเกิดขึ้น ความต่าง ๙ ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะ
อรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ เป็นธรรมนานัตตญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๒๐๕๑-๒๑๑๘ หน้าที่ ๘๔-๘๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=2051&Z=2118&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=32              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=177              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [177-184] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=177&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=7083              The Pali Tipitaka in Roman :- [177-184] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=177&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=7083              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :