ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญพุทธานุสสติ
[๒๓] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาชื่อนิสภะ เราได้สร้างอาศรมไว้ที่ภูเขา นิสภะนั้นอย่างสวยงาม สร้างบรรณศาลาไว้ ในกาลนั้น เราเป็นชฎิลมีนาม ชื่อว่าโกลิยะ มีเดชรุ่งเรือง ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน อยู่ที่ภูเขานิสภะ เวลานั้น เราไม่บริโภคผลไม้ เหง้ามันและใบไม้ ในกาลนั้น เราอาศัยใบไม้เป็นต้น ที่เกิดเองและหล่นเองเลี้ยงชีวิต เราย่อมไม่ยังอาชีพให้กำเริบ แม้จะสละ ชีวิต ย่อมยังจิตของตนให้ยินดี เว้นอเนสนา จิตสัมปยุตด้วยราคะเกิดขึ้น แก่เรา เมื่อใด เมื่อนั้น เราบอกตนเองว่า เราผู้เดียวทรมานจิตนั้น ท่าน กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้ง แห่งความขัดเคือง และหลงใหลในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหล จง ออกไปเสียจากป่า ที่อยู่นี้เป็นของท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน มีตบะ ท่านอย่าประทุษร้ายผู้บริสุทธิ์เลย จงออกไปเสียจากป่าเถิด ท่านจักเป็น เจ้าเรือนได้สิ่งที่ควรได้เมื่อใด ท่านอย่ายินดีแม้ทั้งสองอย่างนั้นเลย จงออก ไปจากป่าเถิด เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ ไม่ใช้ทำกิจอะไรที่ไหนๆ ไม้นั้น เขาไม่ได้สมมติว่า เป็นไม้ในบ้านหรือในป่า ฉันใด ท่านก็เปรียบเหมือน ฟืนเผาศพ ฉันนั้น ไม่ใช่คฤหัสถ์ สมณะก็ไม่ใช่ วันนี้ ท่านพ้นจาก เพศทั้งสอง จงออกจากป่าไปเสียเถิด ข้อนี้พึงมีแก่ท่านหรือหนอ ใครจะรู้ ข้อนี้ของท่าน ใครจะนำธุระของเราไปโดยเร็ว เพราะท่านมากด้วยความ เกียจคร้าน วิญญูชนจักเกลียดท่าน เหมือนชาวเมืองเกลียดของไม่สะอาด ฉะนั้น ฤาษีทั้งหลาย จักคร่า ท่านมาโจทท้วง ทุกเมื่อ วิญญูชนจักประกาศ ท่านว่ามีศาสนาอันก้าวล่วงแล้ว ก็เมื่อไม่ได้สังวาส ท่านจักเป็นอยู่อย่างไร ช้างมีกำลัง เข้าไปหาช้างกุญชรตกมัน ๓ ครั้ง เกิดในสกุลช้างมาตังคะ มีอายุ ๖๐ ถอยกำลังแล้ว นำ (ขับ) ออกจากโขลง มันถูกขับจากโขลง แล้ว ย่อมไม่ได้ความสุขสำราญ มันเป็นสัตว์มีทุกข์เศร้าใจ ซบเซา หวั่น ไหวอยู่ ฉันใด ชฎิลทั้งหลายจักนำ (ขับ) แม้ท่านผู้มีปัญญาทรามออก ท่านถูกชฎิลเหล่านั้นขับไล่แล้ว จักไม่ได้ความสุขสำราญ ฉันนั้น ท่าน เพรียบพร้อมแล้วด้วยลูกศร คือ ความโศก ทั้งกลางวันและกลางคืน จัก ถูกความเร่าร้อนแผดเผา เหมือนช้างถูกขับจากโขลง ฉะนั้น หม้อน้ำทอง ย่อมไม่ไปในที่ไหนๆ ฉันใด ท่านมีศีลอันเสื่อมแล้ว ก็ฉันนั้น จักไม่ไป ในที่ไหนๆ แม้ท่านอยู่ครองเรือน ก็จักเป็นอยู่อย่างไร ทรัพย์อันเป็น ของมารดา และแม้ของบิดาที่ฝังไว้ของท่านไม่มี ท่านจักต้องทำการงาน ของตน จะต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ จักเป็นอยู่ในเรือนอย่างนี้ กรรมที่ดีนั้น ท่านไม่ชอบ เราห้ามใจอันหมักหมมด้วยสังกิเลสอย่างนี้ ในที่นั้น เราได้ ธรรมกถาต่างๆ ห้ามจิตจากบาปธรรม เมื่อเรามีปกติอยู่ด้วยความไม่ ประมาทอย่างนี้ เวลา ๓ หมื่นปีล่วงเราไป (ผู้อยู่) ในป่าใหญ่ พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตระ ทรงเห็นเราผู้ไม่ประมาท ผู้แสวงหาประโยชน์อันอุดม จึงเสด็จมายังสำนักของเรา พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีดังสีทองชมพูนุท ประมาณมิได้ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระรูป เสด็จจงกรม อยู่ในอากาศในเวลานั้น พระพุทธเจ้าไม่มีใครเสมอด้วยพระญาณ เสด็จ จงกรมอยู่ในอากาศในกาลนั้น ดังพระยารังมีดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้า ในระหว่างกลีบเมฆ พระองค์เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศในเวลานั้น ดังราชสีห์ ผู้ไม่กลัว ดุจพญาช้างร่าเริง เหมือนพญาเสือโคร่งผู้ไม่ครั่นคร้าน พระ พุทธเจ้ามีพระรัศมีดังแท่งทองสิงคี เปรียบด้วยถ่านเพลิงไม้ตะเคียน มีพระ รัศมีโชติช่วงดังดวงแก้วมณีเสด็จจงกรมอยู่ในอากาศในกาลนั้น พระพุทธ- เจ้ามีพระรัศมีเปรียบดังเขา (แก้วใส) ไกรลาสอันบริสุทธิ์ เสด็จจงกรม อยู่ในอากาศในเวลานั้น ดังพระจันทร์ในวันเพ็ญ ดุจพระอาทิตย์เวลาเที่ยง เวลานั้น เราได้เห็นพระองค์เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศ จึงคิดอย่างนี้ว่า สัตว์ผู้นั้นเป็นเทวดาหรือว่าเป็นมนุษย์ นระเช่นนี้ เราไม่เคยได้ฟังหรือเห็น ในแผ่นดิน บทมนต์จะมีอยู่บ้างกระมัง ผู้นี้จักเป็นพระศาสดา ครั้นเราคิด อย่างนี้แล้ว ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใส เรารวบรวมดอกไม้และของหอม ต่างๆ ไว้ในเวลานั้น ได้ปูลาดอาสนะดอกไม้อันวิจิตรดีเป็นที่รื่นรมย์ใจ แล้วได้กล่าวคำนี้กะพระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านระผู้เป็นสารถีว่า ข้าแต่พระวีร- เจ้า อาสนะอันสมควรแก่พระองค์นี้ ข้าพระองค์จัดไว้ถวายแล้ว ขอได้โปรด ทรงยังจิตของข้าพระองค์ให้ร่าเริง ประทับนั่งบนอาสนะดอกโกสุมเถิด พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่ทรงตกพระทัย ดังพญาไกรสร ประทับนั่งบน อาสนะดอกโกสุมอันประเสริฐนั้น ๗ คืน ๗ วัน เราก็ได้นมัสการพระองค์ ๗ คืน ๗ วัน พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก เสด็จออกจากสมาธิแล้ว เมื่อทรงพยากรณ์กรรมของเรา ได้ตรัสพระดำรัสดังนี้ว่า ท่านจงเจริญ พุทธานุสสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย ท่านเจริญพุทธานุสสตินี้แล้ว จักยังใจให้เต็มเปี่ยมได้ จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัลป จัก ได้เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อยู่ในแว่นแคว้น ๑๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดย คณานับมิได้ จักได้เสวยสมบัตินั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จักได้โภคสมบัติเป็น อันมาก จะไม่มีความบกพร่องด้วยโภคะ นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ ในแสนกัลป พระศาสดาทรงพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ท่านจักทิ้ง ทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ทาสและกรรมกรเป็นอันมาก จักบวชในพระศาสนาของ พระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม จักยังพระสัมพุทธเจ้าโคดมศากยบุตรผู้ ประเสริฐให้ทรงยินดี จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าสุภูติ พระศาสดาพระนามว่าโคดม ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว จักทรง ตั้งท่านว่าเป็นผู้เลิศใน ๒ ตำแหน่ง คือ ในคณะพระทักขิไณยบุคคล ๑ ในการอยู่โดยไม่มีข้าศึก ๑ พระสัมพุทธเจ้าผู้รุ่งเรือง ทรงเป็นนายกสูงสุด เป็นนักปราชญ์ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ ดังพญาหงส์ ในอัมพร เราอันพระโลกนาถทรงพร่ำสอนแล้ว นมัสการพระตถาคต มีจิต เบิกบาน เจริญพระพุทธานุสสติอันอุดมทุกเมื่อ ด้วยกุศลกรรมที่เราทำดี แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เราละกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ภพ ดาวดึงส์ ได้เป็นจอมเทวดาเสวยทิพยสมบัติ ๘๐ ครั้ง และได้เป็นพระ เจ้าจักรพรรดิ ๑๐๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับ มิได้ ได้เสวยสมบัติเป็นอันดี นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ เราย่อมได้โภคสมบัติเป็นอันมาก เรา ไม่มีความบกพร่องโภคะเลย นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ ในแสนกัลปแต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมอันใดไว้ในกาลนั้น ด้วยผลแห่ง กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้ แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล. ทราบว่า ท่านพระสูภูติเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สุภูติเถราปทาน.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๑๕๐๒-๑๕๙๐ หน้าที่ ๖๗-๗๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=1502&Z=1590&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=32&siri=23              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=23              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [23] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=23&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=799              The Pali Tipitaka in Roman :- [23] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=23&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=799              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap23/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :