ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
กุฏปุปผิยวรรคที่ ๑๙
กุฏชปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๑๘๑)
ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา
[๑๘๓] เราเห็นพระผุสสสัมพุทธเจ้าผู้มีรัศมีเปล่งปลั่งดังทองคำ สว่างไสวไปทั่วทิศ ดังพระอาทิตย์ผู้อุดม เสด็จไปในอากาศ จึงเลือกเก็บดอกโมกหลวงที่บาน ทั้งดอกใหญ่และเล็ก เอามาจากต้น มาบูชาแด่พระองค์ เพราะเราเอาดอกไม้ บูชาในกัลปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัลปนี้ เราจึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง พุทธบูชา ในกัลปที่ ๑๗ แต่กัลปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ พระองค์ พระนามว่าปุปผิตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก คุณวิเศษ เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัด แล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระกุฏชปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบกุฏชปุปผิยเถราปทาน.
พันธุชีวกเถราปทานที่ ๒ (๑๘๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกชบา
[๑๘๔] พระสยัมภูสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ ผู้อันสัตบุรุษ สรรเสริญ พระองค์ ประทับนั่งเข้าสมาธิอยู่ ณ ระหว่างภูเขา เราแสวงหาดอกบัวอย่างดีอยู่ในสระ ได้เห็นดอกชบาอยู่ในที่ใกล้ เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส เอามือทั้งสอง ประคองเข้าไปเฝ้าพระโสภิตมหามุนี แล้วบูชาแด่พระองค์ เพราะเราได้เอา ดอกไม้บูชา ในกัลปที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เราจึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง พุทธบูชา ในกัลปที่ ๑๔ แต่กัลปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่ง ผู้เป็นจอมคน มีพลมาก พระนามว่าสมุทรกัปปะ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธ- ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระพันธุชีวกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ พันธุชีวกเถราปทาน.
โกตุมพริยเถราปทานที่ ๓ (๑๘๓)
ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา
[๑๘๕] เรามีจิตร่าเริงยินดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้อุดมกว่านรชน ซึ่งประทับนั่ง อยู่ ณ ระหว่างภูเขา โชติช่วงดังดอกกรรณิการ์ มีพระคุณประมาณมิได้ เหมือนทะเล เฟื่องฟูดุจแผ่นดิน อันหมู่เทวดาห้อมล้อม ประหนึ่งจะเข้า ไปขอแบ่งสิ่งของ เราถือดอกไม้ ๗ ดอกและผ้าขนสัตว์อย่างดี เข้าไปบูชา แด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งโลก เพราะเราได้เอา ดอกไม้บูชาในกัลปที่ ๓๑ แต่กัลปนี้ เราจึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง พุทธบูชา ในกัลปที่ ๒๑ แต่กัลปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่ง มีนามว่ามหาเนละ มีเดชมาก มีกำลังมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัม- ภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระโกตุมพริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ โกตุมพริยเถราปทาน.
ปัญจหัตถิยเถราปทานที่ ๔ (๑๘๔)
ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา
[๑๘๖] พระผู้มีพระภาคเชษฐบุรุษของโลก ผู้ประเสริฐกว่านรชน พระนามว่าติสสะ แวดล้อมด้วยพระสาวก เสด็จดำเนินอยู่ในถนน เราเป็นบุตรเพื่อความ สำเร็จประโยชน์ ถือดอกอุบล ๕ ดอกยืนอยู่ที่ทางสี่แยก ประสงค์จะให้ เครื่องบูชาอันพระพุทธรัศมีถูกต้องแล้ว ได้บูชาพระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่า สัตว์ มีพระรัศมีดังทองคำ กำลังเสด็จดำเนินอยู่ระหว่างตลาด เพราะเรา เอาดอกไม้บูชาในกัลปที่ ๙๒ แต่กัลปนี้ เราจึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งพุทธบูชา ในกัลปที่ ๑๓ แต่กัลปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ พระองค์ พระนามว่าสุลภสมมต ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีกำลังมาก คุณ วิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้ แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระปัญจหัตถิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปัญจหัตถิยเถราปทาน.
อิสิมุคคทายกเถราปทานที่ ๕ (๑๘๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำผึ้ง
[๑๘๗] เราแม้จะอยู่ในปราสาท ก็นิมนต์พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ผู้มีพระ รัศมีเปล่งปลั่งดังพระอาทิตย์อุทัย มีพระรัศมีเหลืองอร่ามเหมือนพระจันทร์ สุกสะกาวราวกับดอกกุ่ม ให้เสวยถั่วฤาษี แล้วได้ถวายน้ำผึ้งอันไม่มีตัว แด่พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก เอาน้ำผึ้งใส่บาตรของพระสาวก แห่ง พระพุทธเจ้าซึ่งมีประมาณแสนแปดหมื่น จนเต็มทุกๆ รูป ได้ถวายแด่ พระพุทธเจ้ามากกว่านั้น เราอันความเลื่อมใสแห่งจิตนั้นซึ่งเป็นกุศลมูล ตักเตือนแล้ว ไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัลป ในกัลปที่ ๘๓๘๐๐ ได้มี พระเจ้าจักรพรรดิผู้มีพลมาก พระนามว่ามหิสมันตะ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว พระ พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอิสิมุคคทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อิสิมุคคทายกเถราปทาน.
โพธิอุปัฏฐายกเถราปทานที่ ๖ (๑๘๖)
ว่าด้วยผลแห่งการบำรุงไม้โพธิ์
[๑๘๘] เราเป็นคนตีตะโพนอยู่ในนครรัมมวดี เป็นผู้ประกอบการบำรุงไม้โพธิ์อัน อุดมเป็นนิตย์ เราบำรุง ทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว ไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอด ๑๘๐๐ กัลป ในกัลปที่ ๑๕๐๐ เราได้เป็นพระเจ้า จักรพรรดิผู้เป็นอธิบดีแห่งชน มีพลมาก มีนามว่าทมถะ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระโพธิอุปัฏฐายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ โพธิอุปัฏฐายกเถราปทาน.
เอกจินติกเถราปทานที่ ๗ (๑๘๗)
ว่าด้วยผลแห่งการที่กุศลตักเตือน
[๑๘๙] ในกาลใด เทวดาจะจุติจากหมู่เทพเพราะสิ้นอายุ ในกาลนั้น เทวดาผู้ พลอยยินดีย่อมเปล่งเสียงออก ๓ ประการว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านจากนี่ จงไปสู่สุคติ จงได้ความเป็นมนุษย์ เป็นมนุษย์แล้ว จงได้ศรัทธาชั้นเยี่ยม ในสัทธรรม ศรัทธาของท่านผู้ตั้งมั่นแล้วนั้นจงมั่นคงเป็นมูลไว้ อย่าคลอน แคลนในสัทธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศดีแล้ว ตลอดชีวิต ท่านจงกระทำ กุศลอันไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีอุปธิด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ให้มาก แต่นั้นท่านก่อสร้างบุญ ทำบุญนั้นด้วยทานให้มาก จงแนะนำแม้สัตว์อื่นๆ ให้ตั้งอยู่ในพรหมจรรย์ในสัทธรรม สัตว์อื่นๆ ผู้รู้ตามความเป็นจริง พลอย ยินดีตามท่าน ผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดา เพราะความอนุเคราะห์นี้ ขอท่าน จงกลับมาบ่อยๆ นะในกาลนั้น เราเป็นผู้สลดใจอยู่ในหมู่เทวดาที่มาประชุม กัน ด้วยคิดว่า เราเป็นอะไรเล่า จุติจากนี่แล้วจึงจักไปยังกำเนิดมนุษย์ได้ ในกาลนั้น พระสมณะสาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ผู้อบรม อินทรีย์แล้ว มีนามชื่อว่าสุมนะ รู้ความสลดใจของเรา ปรารถนาจะช่วย เหลือเรา ท่านจึงมาในสำนักของเรา พร่ำสอนอรรถธรรมแล้ว ยังเราให้ สลดใจ เราได้ฟังคำของท่านแล้ว ทำให้จิตเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เราเพียง แต่ได้ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น เรานั้นอัน กุศลมูลตักเตือนแล้ว ได้อุปบัติในเทวโลกนั้นเอง ไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอด แสนกัลป คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระเอกจินติกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ เอกจินติกเถราปทาน.
ติกรรณิปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๑๘๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกเจต
[๑๙๐] เราเป็นเทวดาแวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร ระลึกถึงบุรพกรรมได้ จึงระลึกถึง พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เรายังจิตของตนให้เลื่อมใส ถือดอกเจตภังคี ๓ ดอก ไปบูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้ประเสริฐกว่านรชนเพราะ เราได้เอาดอกไม้บูชาในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราจึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งพุทธบูชา ในกัลปที่ ๗๓ แต่กัลปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ พระองค์ เป็นผู้อุดม ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระติกรรณิปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ติกรรณิปุปผิยเถราปทาน.
เอกจาริยเถราปทานที่ ๙
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมนทารพ
[๑๙๑] ในกาลนั้น ได้มีเสียงประกาศกึกก้องในหมู่เทพเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่าพระ พุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานในโลก และพวกเราก็ยังมีราคะในเทวดาผู้เกิดความ สังเวช เพรียบพร้อมด้วยลูกศร คือความโศกเหล่านั้น เราเป็นผู้มีใจแข็ง ด้วยกำลังของตน ได้ไปในสำนักพระพุทธเจ้า เราถือดอกมนทารพที่นิรมิต รวบรวมไว้ไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า ในเวลาใกล้จะปรินิพพาน ในกาลนั้น เทวดาและนางอัปสรทั้งปวงอนุโมทนาเรา เราไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสน กัลป ในหกหมื่นกัลป แต่กัลปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ องค์ มีพล มาก พระนามว่ามหามัลลชน คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเรา ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระเอกจาริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ เอกจาริยเถราปทาน.
ติวัณฏิปุปผิยเถราปทานที่ ๑๐ (๑๙๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกไม้ต่างๆ
[๑๙๒] เราทุกคนนั้นประชุมกัน เข้าไปเพ่งโทษพระเถระชื่ออภิภู ความเร่าร้อน ได้เกิดแก่พวกเราผู้เข้าไปเพ่งโทษ ในกาลนั้น พระเถระมีนามชื่อว่าสุนันทะ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า พระนามว่าธรรมทัสสีผู้เป็นมุนีมาในสำนักของ เรา ในกาลนั้น ชนทั้งหลายที่อยู่ในสำนักของเรา ได้เอาดอกไม้มาให้เรา เราได้เอาดอกไม้นั้นบูชาพระสาวกทั้งหลาย เราทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น แล้ว ก็เกิดขึ้นอีก เราไม่ได้ไปสู่วินิบาตเลยตลอด ๑๘๐๐ กัลป ในกัลปที่ ๑๓๐๐ แต่กัลปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ พระองค์ พระนามว่าธูมเกตุ ทรง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเรา ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระติวัณฏิปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ติวัณฏิปุปผิยเถราปทาน.
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุฏชปุปผิยเถราปทาน ๒. พันธุชีวกเถราปทาน ๓. โกตุมพริยเถราปทาน ๔. ปัญจหัตถิยเถราปทาน ๕. อิสิมุคคทายกเถราปทาน ๖. โพธิอุปัฏฐากเถราปทาน ๗. เอกจินติกเถราปทาน ๘. ติกรรณิปุปผิยเถราปทาน ๙. เอกจาริยเถราปทาน ๑๐. ติวัณฏิปุปผิยเถราปทาน
ท่านประกาศคาถาไว้ ๖๐ คาถา
จบ กุฏชปุปผิยวรรคที่ ๙.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๔๖๗๙-๔๘๒๙ หน้าที่ ๒๑๗-๒๒๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=4679&Z=4829&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=32&siri=183              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=183              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [183-192] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=183&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=4829              The Pali Tipitaka in Roman :- [183-192] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=183&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=4829              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap183/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :