ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
อัมพฏผลวรรคที่ ๓๙
อัมพฏผลทายกเถราปทานที่ ๑ (๓๘๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะกอก
[๓๘๓] พระผู้มีพระภาคสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสตรังสี ผู้เป็นเอกไม่ทรงแพ้อะไรๆ ทรงใคร่ความสงัด เสด็จออกโคจรบิณฑบาต เราถือผลไม้อยู่ ได้เห็น พระองค์ มีจิตเลื่อมใสโสมนัส จึงเข้าไปเฝ้าพระนราสภแล้ว ได้ถวายผล มะกอก ในกัลปที่ ๙๔ แต่กัลปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ การที่เราได้มาในศาสนา แห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว โดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็น ผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอัมพฏผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อัมพฏผลทายกเถราปทาน.
ลพุชทายกเถราปทานที่ ๒ (๓๘๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลขนุนสำมะลอ
[๓๘๔] ในกาลนั้น เราเป็นคนรักษาสวนอยู่ในพระนครพันธุมดี ได้เห็นพระ พุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี กำลังเสด็จเหาะไปในอากาศ เราได้ถือเอาผลขนุน สำมะลอไปถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระองค์ผู้มียศมากประทับ ยืนอยู่ในอากาศทรงรับทานของเรา นั่นเป็นเหตุให้ปิติเกิดแก่เรา เป็น เครื่องนำสุขมาให้ในปัจจุบัน ครั้นได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้าด้วยใจอัน ผ่องใสแล้ว เราได้บรรลุถึงปีติและอุดมสุขอันไพบูลย์ในกาลนั้น แก้ว ย่อมเกิดขึ้นแก่เราในภพที่เราเกิด ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้ถวาย ผลไม้ใด ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รุ้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ ถวายผลไม้ การที่เราได้มาในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการมา ดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ ทำเสร็จแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษ เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัด แล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระลพุชทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ลพุชทายกเถราปทาน.
อุทุมพรผลทายกเถราปทานที่ ๓ (๓๘๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะเดื่อ
[๓๘๕] พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษ ประทับอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำนินนคา เราได้เห็นพระ พุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีพระหฤทัยมั่นคง ไม่ระส่ำระสาย เรามีใจ เลื่อมใสในพระองค์ผู้ชำระมลทิน คือ กิเลส จึงได้ถือเอาผลมะเดื่อไป ถวายแก่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้ถวาย ผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ ถวายผลไม้ การที่เราได้มาในพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการ มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำ เสร็จแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว ตัด กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอุทุมพรผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อุทุมพรผลทายกเถราปทาน.
มิลักขุผลทายกเถราปทานที่ ๔ (๓๘๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมิลักขุ
[๓๘๖] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้มียศมากในระหว่างป่า เรามี จิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายผลมิลักขุ ในกัลปที่ ๑๘๐๐ แต่กัลปนี้ เรา ได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งการถวายผลไม้ การที่เราได้มาในพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมด แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณ วิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้ แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระมิลักขุผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ มิลักขุผลทายกเถราปทาน.
ผารุสผลทายกเถราปทานที่ ๕ (๓๘๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะปราง
[๓๘๗] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้ามีพระฉวีวรรณดังทองคำ สมควรรับเครื่องบูชา เสด็จดำเนินอยู่ในถนน จึงได้ถวายผลมะปรางแด่พระองค์ ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จัก ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ การที่เราได้มาในพระศาสนาแห่ง พระพุทธเจ้าของเรา เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดย ลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระผารุสผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ผารุสผลทายกเถราปทาน.
วัลลิผลทายกเถราปทานที่ ๖ (๓๘๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลวัลลิ
[๓๘๘] ในกาลนั้น ชนทั้งปวงชักชวนกันมาสู่ป่า เขาเหล่านั้นแสวงหาผลไม้ ก็ หาผลไม้ได้ ในกาลนั้น ในป่านั้น เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ สยัมภู ไม่แพ้อะไรๆ เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายผลวัลลิ ในกัลป ที่ ๓๑ แต่กัลปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราได้รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ การที่เราได้มาในพระ- ศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุ แล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดัง ช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเรา ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระวัลลิผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ วัลลิผลทายกเถราปทาน.
กทลิผลทายกเถราปทานที่ ๗ (๓๘๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลกล้วย
[๓๘๙] เราได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก ทรงรุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์ โชติช่วงเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญและดังดวงประทีป เรามีจิตเลื่อมใส โสมนัส ได้ถือเอาผลกล้วยไปถวายแด่พระศาสดา ถวายบังคมแล้วกลับ ไป ในกัลปที่ ๓๑ แต่กัลปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยทาน นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ การที่เราได้มาใน พระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว เราเผากิเลส ทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้าง ตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระกทลิผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ กทลิผลทายกเถราปทาน.
ปนสผลทายกเถราปทานที่ ๘ (๓๘๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายขนุนสุก
[๓๙๐] ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอัชชุนะ ทรงถึงพร้อมด้วยจรณะ และเป็นมุนี ผู้ฉลาดในสมาธิ ประทับอยู่ที่ภูเขาหิมวันต์ เราถือเอา ผลขนุนอันสุกสด โตประมาณเท่าหม้อวางไว้ที่ต้นตีนเป็ดแล้ว ได้ถวาย แด่พระศาสดา ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ การที่เรา ได้มาในพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว เราเผากิเลส ทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้าง ตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำ เสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระปนสผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๗๗๐๐-๗๘๑๗ หน้าที่ ๓๕๕-๓๕๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=7700&Z=7817&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=32&siri=383              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=383              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [383-390] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=383&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5224              The Pali Tipitaka in Roman :- [383-390] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=383&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5224              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap383/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :